Product Description
ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา เป็นหน่วยงานหนึ่งที่พัฒนาพื้นที่ในจังหวัดทางภาคใต้ ทั้งให้องค์ความรู้ สร้างกระบวนทัศน์ในการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างกระบวนการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการมีส่วนรวม โดยพัฒนา คน พื้นที่ และผลผลิต ไปพร้อมๆ กัน สนับสนุน ส่งเสริมใหเกษตรกรรวมกลุ่มในการพัฒนา เพื่อยกระดับเกษตรกรให้ทัดเทียมอาชีพอื่นๆ มีความภูมิใจในความเป็นเกษตรกร ด้วยการจัดตั้งเป็น สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดต่างๆ เช่นสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนยะลา สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนปัตตานี สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนนราธิวาส เป็นต้น เพื่อให้เกษตรกรได้มีกลไกการจัดการตนเอง พื้นที่ ผลผลิต แบบครบห่วงโซ่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และเชื่อมโยงเครือขายภาคี ผู้มีสวนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่ของความมั่นคงทางอาหาร ใน 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการกับความท้าทายในการพัฒนาที่ซับซอนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของภาคเกษตรกร ภาคการผลิตต้นน้ำ ภาคผู้ประกอบการชุมชน ผู้บริโภค ให้มีความมั่นใจว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
1. พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตของเกษตรกร และความต้องการของผู้ประกอบการ
- กิจกรรม
- กิจกรรมออกแบบและสร้างโครงสร้างเครือข่ายสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา
- สร้างความเข้มแข็งในการสื่อสารช่องทางการตลาด
- จัดการการตลาดเชิงกลยุทธ์กับพันธมิตรทางธุรกิจจากภาคส่วนต่างๆ
- ร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน มีความไว้ใจ เชื่อมั่น สร้างการมีส่วนร่วม
- กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถข้าใจกลไกเครื่องมือ OAN ในการพัฒนาร่วมกันแบบครบห่วงโซ่ Supply-Demand
- ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
- เกษตรกร/สมาพันธ์ 3 จังหวัด ที่สนใจขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน
- ผู้ประกอบการ
- หน่วยงานภาคีในห่วงโซ่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
- ประมาณ 105 คน (จังหวัดละ 35 คน ได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส)
- ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- เข้าใจหลักการทำ BMC
- การวางแผนการผลิต และการตลาดร่วมกัน
- มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน
- ช่องทางสื่อสารที่มีประสิทธิภาพร่วมกัน
- สร้างพันธมิตรทางการตลาดร่วมกัน
2. ตรวจเยี่ยมแปลงเกษตรกรผู้ผลิต เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และนำมาจัดการข้อมูลลงในระบบ OAN Platform
- กิจกรรม
- ลงพื้นที่ตรวจแปลง เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และนำมาจัดการข้อมูลนระบบ OAN Platform
- ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
- เกษตรกร/สมาพันธ์ 3 จังหวัด ที่มีแปลงที่เคยผ่านการตรวจ และเกษตรกรแปลงใหม่ที่สนใจตรวจ
- ปัตตานี 20 แปลง ยะลา 20 แปลง นราธิวาส 20 แปลง รวม 60 แปลง
- ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- ผู้ตรวจแปลงลงพื้นที่ตรวจแปลงรวม 3 จังหวัด 60 แปลง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และลงข้อมูลใน ระบบ OAN Platform
3. พัฒนาศักยภาพและทักษะผู้ตรวจแปลงด้านการใช้ดิจิทัล OAN Platform
- กิจกรรม
- อบรมทักษะทาง ดิจิทัลการใช้ OAN Platform
- อบรมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้ผลิตอาหารต้นน้ำโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยและชาวประมงพื้นบ้าน ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลายและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์อาหารในท้องถิ่น
- ร่วมพัฒนาฐานข้อมูลผ่านระบบ OAN Platform ที่จะทำให้ เกษตรกรสามารถจัดการข้อมูล การจัดการฟาร์ม ปฏิทินฟาร์ม การวางแผนต้นทุน แผนผลิต แผนรายได้ ในปฏิทินฟาร์ม ที่จะเชื่อมโยงระหว่าง Supply – Demand ผ่าน OAN Platform
- ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
- ผู้ตรวจแปลงตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS จังหวัดละ 35 คน 105 คน
- ข้อมูลเกษตรกรหลังการลงพื้นที่ตรวจแปลงนำมาวิเคราะห์ และนำข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล ไม่น้อยกว่า 60 แปลง ในพื้นที่ 3จังหวัด
- ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- 60% ของผู้ตรวจแปลงเที่ข้าร่วม มีทักษะในการใช้ OAN Platform (60 คนจาก 3 จังหวัด)
4. พัฒนาผู้ตรวจแปลงและคณะทำงานกลั่นกรอง ข้อมูลแปลงเกษตรอินทรีย์
- กิจกรรม
- อบรมเติมเต็มทักษะผู้ตรวจแปลงและคณะทำงานกลั่นกรองข้อมูลแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS จำนวน 4ครั้งๆ ละ 1 วัน
- สร้างทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล
- การนำข้อมูลมาประมวลเพื่อการลงระบบ
- การนำข้อมูลสู่การกลั่นรอง และรับรองเพื่อออกใบรับรอง และ QR Code ตรวจสอบย้อนกลับ
- ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
- ผู้ตรวจแปลงที่ผ่านการอบรม ของจังหวัด นราธิวาส ปัตตานี และยะลา รวม 60 คน
- มีแปลงที่ผ่านการกลั่นกรอง มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ของจังหวัดยะลา 20 แปลง ปัตตานี 20 แปลงนราธิวาส 20 แปลง รวม 60 แปลง
- ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- 30% ของผู้ตรวจแปลงเที่ข้าร่วม มีทักษะในการใช้ OAN Platform (60 คนจาก 3 จังหวัด)
5. แปลงที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS มีตลาดรองรับ 100% และใบรับรองแสดงหน้าแผง หน้าร้านค้า ตลาดท้องถิ่น ที่สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค สามารถตรวจสอบย้อนกลับมาถึงแปลงผลิตต้นน้ำ
- กิจกรรม
- จัดประชุมคณะกรรมการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS
- การจับคู่ธุรกิจ (Matching) ระหว่างผู้ผลิตที่ผ่านการรับรอง กับ ผู้ซื้อในจังหวัดยะลา (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา)มีการทำข้อตกลงความร่วมมือ MOU ระหว่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
- การสร้างหลักธรรมาภิบาลทางการค้า ความเชื่อใจ เชื่อมั่น ความโปร่งใส่ กระบวนการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ตลอดกลไกห่วงโซ่ ที่จะนำพาสู่การตลาดที่ยั่งยืน
- ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
- เกษตรกรผู้ผลิต
- ผู้ประกอบการ
- หน่วยงานราชการ
- วิชาการ
- เอกชน
- ประชาสังคม
- ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- มีแปลงผ่านการพิจารณารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ทั้ง 3 จังหวัด จังหวัดละ 20 แปลง
- ทั้ง 60 แปลงมี QR Code ที่ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแปลงผลิต สามารถออกใบรับรองเพื่อนำไปติดบนสินค้า หน้าแปลง และในตลาดหรือ ห้างสรรพสินค้า
Update:
เทศบาลนครยะลา กับวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และจุดประกายการมีส่วนร่วมขององค์ในห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งใน Workshop โครงการพัฒนาต่อยอดศักยภาพเกษตรกรผู้ผลิตด้วยกลไกดิจิทัล Platform ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง Supply – Demand ที่จะยกระดับความสามารถในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ ความสามารถในการแข่งขันของตลาด ในจังหวัดยะลา การพัฒนาโมเดลตลาด 4 ร. ของเทศบาลนครยะลา
ท่านรองนายกเทศบาลนครยะลา ได้กล่าวในพิธีเปิด โดยสรุปได้ว่า นวัตกรรมทางสังคม จากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาร่วมกัน จะเป็นคำตอบของความต้อง การที่จะแก้ปัญหา Pain Point ต่างๆ ได้แก่ ผู้ผลิตและผู้บริโภคไม่เห็นกัน ไม่มีกลไกการตลาด ไม่มีเจ้าภาพหลัก การตลาดต่อเนื่องของเกษตรอินทรีย์ ขาดชุดความรู้ ขาดกระบวนการ และนวัตกรรมมาช่วยในการจัดการ ที่ทำให้เกิดความสมดุลย์ของ Supply-Demand ซึ่ง ความต้องการในนครยะลามีมากทั้งใน ตลาด 4 ร. และตลาดทั่วไป แต่ภาคการผลิตส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ยะลา ซึ่งสอดคล้องกับเวที VOC (Voice of customer) ของผู้บริโภค 4 ร. ที่บอกถึง ความต้องการ ต่อวันที่มากมาย และผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ จาก 4 องค์กร ต้องการให้ภาคการผลิตเป็นพื้นที่ของเกษตรกรยะลา ที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดเศรษฐกิจในยะลา สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ครัวเรือน จากภาคการผลิตเกษตรต้นน้ำ และส่งให้ตลาด 4 ร. ในเทศบาลนครยะลา ซึ่งมีมูลค่า ต่อวัน หลักหลายล้านบาท และมูลค่าต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ที่ตอบโจทย์การพัฒนา
โจทย์โยนมาที่เกษตรกรยะลา ในนามสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนยะลา เพื่อหาคำตอบ จากประเด็นดังกล่าว นำสู่กระบวนการทำโมเดลธุรกิจตลาด 4 ร. (BMC) ที่ให้บทบาทขององค์กรในห่วงโซ่คุณค่า มาร่วมกันสร้างโมเดล ตลาด 4 ร. นครยะลา และนำสู่การทำโครงสร้างการจัดการตามบทบาทของแต่ละองค์กร ที่รู้ตำแหน่งและบทบาท ในห่วงโซ่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และนำมาสู่แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาร่วมกันให้เป็น โมเดลต้นแบบ ที่มี Chain value
1. ต้นน้ำ
– ฟาร์มตัวอย่างวังพญา
– Young smart farmer
– ศูนย์ปราชญ์
– สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนยะลา (เชื่อมโยง)
2. กลางน้ำ
– SE Yaya Organic
– สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนยะลา (เชื่อมโยง)
– สสจ ยะลา
– พานิชย์จังหวัดยะลา
– เทศบาลนครยะลา
4. ปลายน้ำ
– ตลาด 4 ร. (โรงพยาบาลสิโรรส โรงเรียนธรรมวิทยา โรงเรียนเทศบาล)
– ตลาดเทศบาล 1,000 กว่าร้านค้า
– สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนยะลา (เชื่อมโยง)
ซึ่ง ในการเริ่มต้นในปีแรก คือ การสร้างรูปธรรม โมเดล ตลาด 4 ร. จาก ร. ละ 1 องค์กร ซึ่ง มีมูลค่าต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดย
1. ด้านเศรษฐกิจ จาก 1 โรฃพยาบาล เดือนละ 1.2 ล้าน จาก 1 โรงเรียนเอกชน (นร. 6,000 คน) เดือนละ 12 ล้าน รวม เดือนละ 13.4 ล้านบาท
2. ด้านสังคม
– เกิดการรวมกลุ่มองค์กร ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ กว่า 20 องค์กร ที่จะสร้างความเข็มแข็งในพื้นที่
– เกิดกระบวนการเเรียนรู้ กระบวนการทางสังคมในการพัฒนา
– เกิดชุดความรู้ KM อย่างน้อย 10 KM
– เกิดนวัตกรรมทางสังคม ที่เป็นโมเดลต้นแบบ เพื่อการทำยุทธศาสตร์ในการพัฒนาพื้นที่อื่นในอนาคต
– เกิดแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ เกษตรสุขภาพ อย่างน้อย 20 แปลง
– เกิดแหล่งท่องเที่ยวเกษตรอินทรีย์ อย่างน้อย 20 แปลง ที่จะเป็นทางเลือกของสังคมรักษ์สุขภาพ
3. ด้านสิ่งแวดล้อม
– มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 1,000 ไร่่
– เกิดแปลงเกษตรอินทรีย์ ที่เอื้อต่อนิเวศน์ อย่างน้อย 100 แปลง
– เกิดกิจกรรมที่ข่วยลดภาวะโลกร้อน จากการทำปัจจัยผลิต ในแปลงเกษตรอินทรีย์ รวมถึงจากการจัดการแปลงตามมาตรฐานข้อกำหนดสากล
จาก Workshop สู่การนำการอบความคิด โครงสร้าง 3 โครงสร้าง ที่เป็นโครงสร้างการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของพันธมิตร ที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณ พัฒนาสู่การจัดการด้วยนวัตกรรมกระบวนการ และนวัตกรรมทางสังคม สู่โมเดลธุรกิจเพื่อสังคม 3 โครงสร้าง
1. โครงสร้างภาคีความมั่นคงทางอาหารจังหวัดยะลา
2. โครงสร้างกลไกพื้นที่ 4 กลไก ที่มีสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนเชื้อมโยงกลไกทั้ง 4 กลไก
3. โครงสร้างธุรกิจเพื่อสังคม ที่ยกระดับการพัฒนาจาก วิสาหกิจกลุ่มที่จัดการปลายน้ำเดิม ให้เป็นโมเดลธุรกิจ
จบ Workshop ท่านนายกเทศบาลนครยะลา ได้นัดคุยแผนกยุทธศาสตร์ที่จะเดินร่วมกัน โดย
– มีพื้นที่ 94 ไร่ ในเขตเทศบาลนครยะลา มห้เป็น แหล่ง ผลิต Organic Agriculture/ wellness ให้มีครบห่วงโซ่ โดย เน้น การผลิตเพื่อนครเมือง แหล่ง KM เป็นเสมือน Hub รวมด้านเกษตรอินทรีย์ นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ และสิ่งแวดล้อม ในยุทธศาสตร์
4. วางนโยบาย ให้ กลุ่ม 4 ร. รับผลผลิตเกษตรปลอดภัยจากเกษตรต้นน้ำของคนยะลา
5. การทำ Zero waste จากขยะครัวเรือน จากตลาด ผัก ต่างไป ทำปุ๋ยมูลไส้เดือน เพื่อนำกลับมาใช้ด้านการเกษตรอินทรีย์
6. นำ Platform มาจัดการด้านการตลาดออนไลน์ เพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
8. ให้สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนยะลา ทำแผนเกษตรอินทรีย์ นำเสนอเพื่อขับเคลื่อน
9. เย็นเทคโนโลยีและดิจิทัล ในการทำเกษตรอินทรีย์
10. ทำนวัตกรรมจากเปลือกทุเรียนมาใช้ประโยชน์
11. การชูอัตลักษณ์ของกล้วยหิน ทำการแปรรูปใช้นวัตกรรมด้านเวชภัณฑ์ มาสร้างมูลค่า
12. ทำลองกอง ฟรีเมียม เพื่อเพิ่มมูลค่า
13. ทำทุเรียนหรีเมียมที่มีความโดยเด่น 1 เดียวภาคใต้ ด้วยกลิ่น รส ที่เน้น เงาะถอดรูป เป็น สังข์ เนื้อทองคำที่ล้ำค่า
29 ตุลาคม 2565 – วันนี้ คนสุคิริน ทุกภาคส่วน ทั้ง เกษตรกร หน่วยงานภาคีในอำเภอ รวมถึง ฟาร์มตัวอย่างไอบือแต และฟาร์มตัวอย่างไอบาโจ นำร่องฐานผลิตเกษตรอินทรีย์ ที่จะเข้ากระบวนการเรียนรู้ และการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคี ในห่วงโซ่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ใน สุคิรินโมเดล ที่จะสร้างแหล่งอาหารปลอดภัย แหล่งจ้างงาน แหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ด้วยการนำร่อง 20 แปลงเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่ และฟาร์มตัวอย่าง เพื่อเป็นต้นแบบของชุมชน
สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนนราธิวาส ร่วมกับ อบต สุคิริน กลุ่มผู้บริโภคตลาด 4 ร. หน่วยงานภาครัฐต่างๆ ฟาร์มตัวอย่างไอบือแต และฟาร์มตัวอย่างไอบาโจ ลงสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อรับรู้ ปัญหาต่างๆ จากผลกระทบการผลิตเกษตรเคมี ที่ทำให้คนสุคิรินตระหนัก และการสร้างแนวทางเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยระบบอาหารท้องถิ่น ที่มีความมั่นคงทั้ง 4 มิติ ทั้งปริมาณ คุณภาพ โภชนาการ เสถียรภาพ และการเข้าถึงแหล่งอาหารปลอดภัยของประขาชน โดยใช้ฐานผลิตในชุมชนและฟาร์มรวม 20 แปลง พื้นที่ประมาณ 100 ไร่ พื้นที่ชุมชนสุคิริน 10 แปลง พื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ที่จะพัฒนาสู่เกษตรอินทรีย์ และมีเป้าหมายในการพํฒนาแบบมีส่วนร่วม ที่เน้นการใช้นวัตกรรม จากกระบวนการ (Process innovation) และสังคม (Socail innovation) ที่เน้นการเป็นผู้นำ นำการเปลี่ยนแปลง จากบทบาทของแต่คน แต่ละหน่วยงาน โดยใช้กลไก 4 กลไก คือ 1. สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนนราธิวาส มีบทบาทส่งเสริมพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน ให้ความรู้ นำเครื่องมือต่างไป ไปใช้
2. คณะผู้ตรวจแปลง ที่มีบทบาท ลงพื้นที่พัฒนาแปลงเกษตรในชุมชน การตรวจเยี่ยมแปลง การนำข้อมูล มาวิเคราะห์ และลงในระบบ Big Data หรือ OAN Platform
3. คณะกรรมการรับรองระดับจังหวัด มีบทบาท จัดการประชุมรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์ การทำเวทีเรียนรู้การพัฒนาร่วมดันของภาคีในห่วงโซ่
4. ธุรกิจเพื่อสังคม หรือ SE (Socail Enterprise) ที่จะเป็นหน่วยจัดการ วางแผนการผลิต แผนงบประมาณ แผนการตลาด การจัดการที่จะนำกำไรมาพัฒนาร่วมกัน เพื่อยกระดับเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการชุมชน
ซึ่งแต่ละกลไกจะเชื่อมโยงกันตลอดห่วงโซ่ โดยคณะทำงานฐานข้อมูลกลางเพื่อ เชื่อม Supply-Demand