Product Description
สถานการณ์ชุมชน
สถานการณ์ด้านอาหารที่ผลิตในชุมชนไม่มุ่งเน้นการผลิตอาหารปลอดภัยแนวโน้มความหลากหลายด้านอาหารมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยลง มีเหตุมาจากการผลิตอาหารตามกลไกตลาดเน้นปริมาณผลผลิตเป็นสำคัญ ผู้ผลิต อาหารจึงใช้สารเคมีสูงทั้งในการผลิตผักผลไม้ และปศุสัตว์
กิจกรรม
- ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดีและการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษในโรงเรียนบ้านท่าสู
- ส่งเสริมการเพาะเห็ดและการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษในโรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
ผลการดำเนินงาน
- กระบวนการเรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่กับนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นที่ 1–6 โรงเรียนบ้านท่าสู จำนวน 97 คน
- การกระจายอาหาร (ไก่ไข่) ให้กับเด็กยากจนเด็กกำพร้าโรงเรียนบ้านท่าสู และการขายในชุมชน
- กระบวนการเรียนรู้การทำเกษตรในระดับครอบครัวของผู้ปกครองกับนักเรียนบ้านน้ำบ่อ จำนวน 215 ครอบครัว
เครือข่ายร่วมขับเคลื่อนกิจกรรม
มาลี โต๊ะกา อายุ 44 ปี มีลูกๆ จำนวน 3 คน กำลังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 2 และปีที่ 5 มาลี เป็นครูโรงเรียนบ้านท่าสูง มีนักเรียนจำนวน 154 คน โดย อบต. บ้านน้ำ บ่อส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่เพิ่มเติมจากกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงที่โรงเรียนดำเนินการอยู่นักเรียน ป.1-ป.6 แบ่งหน้าที่รับผิดชอบวันละ 3 คนเพื่อให้อาหารไก่และเก็บไข่ไก่ในช่วงที่โรงเรียนปิดเพราะสถานการณ์โควิด-19 เด็กๆ ที่มาช่วยงานจะได้ ไข่ไก่ไปรับประทานที่บ้านและโรงเรียนนำไปขายในชุมชนราคาแผงละ 80-90 บาท ปัจจุบันไข่ไก่ที่ผลิตได้เป็นที่นิยมของประชาชน เนื่องจากราคาถูกและสด
ครูสอนแค่หนังสืออย่างเดียวไม่ได้มีหน้าที่ช่วยเหลือชุมชนด้านอื่นๆ ด้วย ชาวบ้านกินแต่ปลาอย่างเดียวไม่ได้ การที่เราได้ทำกิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่ เราก็ได้สอนลูกเราให้เลี้ยงไก่สอนลูกทำเกษตร เด็กนักเรียนที่มาช่วยเก็บไข่ไก่ เราให้ไข่ไก่กลับบ้านไปกิน เมื่อบ้านเค้ามีปลาเค็มก็เอามาฝากเรา พ่อกลับ จากทำประมงที่มาเลเซียก็เอาปลาหมึกแห้งตัวโตมาฝากเด็กในหมู่บ้านภูมิใจรักครู ครูก็รักเด็ก เงินที่ขายไข่ได้ก็มาเป็นกองกลางของโรงเรียนเพื่อทำกิจกรรมต่อเนื่องไป”