Sign In

เศรษฐกิจพอเพียงสร้างความมั่นคง และปลอดภัยทางอาหารระดับท้องถิ่น

เศรษฐกิจพอเพียงสร้างความมั่นคง และปลอดภัยทางอาหารระดับท้องถิ่น

Category:

Product Description

สถานการณ์ชุมชน

  • สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ต้องปิดหมู่บ้านจึงเกิดกระทบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนและสมาชิกในชุมชน ได้แก่ เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้อยากไร้ จาก สถานการณ์ดังกล่าว อบต.บันนังสตาต้องสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชน เช่น การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นคลังอาหาร ให้คนในหมู่บ้าน และควรให้กลุ่มเด็กและ เยาวชน รวมถึงกลุ่มอาชีพต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมและสร้างความสามัคคี

กิจกรรม

  • กิจกรรมเกษตรเพื่อนักเรียนโรงเรียนบ้านธารทิพย์
  • กิจกรรมปลูกผัก ปลูกรัก เพื่อชุมชนกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงบ้านนังกูแว
  • กิจกรรมทำซุ้มเช็คอินและปลูกผักเพื่อให้เยาวชนห่างไกลยาเสพติดในกลุ่มเยาวชนบ้านป่าหวังนอก
  • กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูนซีเมนต์กลุ่มเยาวชนบ้านกาโสดสร้างอาชีพ

ผลการดำเนินงาน

  • กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงบ้านนังกูแว หมู่ที่ 4 สมาชิกทั้งหมด 30 ครัวเรือน ดำเนินกิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้าจำหน่ายผลผลิตในราคากิโลกรัมละ 50 บาท และขายปลีกถุงละ 10 บาท โดยเงินที่ได้นำมาแบ่งสรไปซื้อเมล็ดพันธุ์ผักเพื่อแจกให้กับสมาชิกกลุ่มจำนวน 10 ครัวเรือนที่มีความพร้อมและมีพื้นที่ว่างนำไปปลูก
  • กลุ่มเยาวชนบ้านป่าหวังนอก หมู่ที่ 11 มีสมาชิกกลุ่มจำนวน 20 คน เป็นเยาวชนที่ว่างงาน โดยเป้าหมายของกลุ่มเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้เยาวชน ห่างไกลยาเสพติดโดยกิจกรรมของกลุ่มคือ การทำซุ้มเช็คอินแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และปลูกผักบริเวณซุ้มเช็คอิน
  • กลุ่มเยาวชนบ้านกาโสดสร้างอาชีพ หมู่ที่ 5 เป็นเยาวชนออกจากการ เรียนภาคบังคับและไม่ได้เรียนต่อ จำนวน 5 คน เยาวชนกลุ่มนี้เป็นแกนหลัก การเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูนซีเมนต์ผลผลิตจำหน่ายแก่โรงเรียนและศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก และโรงเรียนตาดีกาเพื่อนำไปประกอบอาหารกลางวัน และช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นำผลผลิตมอบให้กับสมาชิกในหมู่บ้านที่กักตัวจากโรคโควิด

เครือข่ายร่วมขับเคลื่อนกิจกรรม

นางสาวกามีล๊ะ เฮงดาดา อายุ 36 ปี ครอบครัวอยู่ด้วยกัน 10 คน อายุตั้งแต่ 5-35 ปี กามีล๊ะเป็นประธานกลุ่มบ้านนังกูแว ซึ่งมีสมาชิก 40 คน กิจกรรมอบรมการทำ ปุ๋ยหมักสารไล่แมลง ปุ๋ยน้ำ EM โฮโมนผลไม้ การปลูกผัก เลี้ยงไก่และ เพาะเห็ด ในบริเวณศูนย์เรียนรู้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ศอ.บต. กิจกรรมของศูนย์เรียนรู้แบ่งการบริหารจัดการออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ 1 แปลง รวมที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงมีเป้าหมายเพื่อให้สมาชิกที่มีเวลาแต่ไม่มีที่ดินทำเกษตรไดใช้พื้นที่ส่วนรวมโดยสมาชิกจะแบ่งความรับผิดชอบดูแลกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ปลูกพืชผัก เลี้ยงไก่ไข่ และเลี้ยงปลา ส่วนที่ 2 สนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืช ให้กับสมาชิกที่มีที่ดินทำเกษตรในระดับครัวเรือน

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงได้รับการสนับสนุนจาก อบต.ครั้งนี้เป็นครั้งแรกทำให้การประสานงานกับ อบต. มีความคล่องตัวมากขึ้นการทำงานร่วมกันทำให้เกิดการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ของเราได้และเราก็มีแหล่งอาหารที่ดีขึ้น ผลผลิตของเรามีร้านอาหารในชุมชนจำนวน 3 แห่งมารับซื้อ 3 วันต่อ 1 ครั้ง เช่น พวกผักบุ้ง มีร้านค้าขายของสดในเมือง 1 แห่ง ขายในตลาดนัดทุกวันจันทร์ซึ่งกลุ่มจะมีแผงขายเราจะเอาผลผลิตจากแปลงรวมทั้งเห็ด ไข่ไก่ และสมาชิกก็เอาผลผลิตจากครัวเรือนไปออกขายรวมในแผง เช่น พวกมะเขือ พริก แตงกวา นอกจากนี้มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อด้วย สินค้าเราขายไม่แพงเกินไปเพราะเราทำปุ๋ย และทำ น้ำหมักเอง ชาวบ้านสามารถซื้อกินได้และสินค้ายังปลอดสาร นอกจากนี้ผลผลิตที่เราได้แบ่งให้กับครอบครัวที่ถูกกักตัวจากสถานการณ์ Covid โดยนำไข่จำนวน 5 ฟอง เห็ด 1 ถุง หมุนเวียนไปแต่ละครอบครัวสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือเวลาที่สมาชิกกลุ่มไม่สบายเราก็เอาผลผลิตไปเยี่ยมเยียน”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ กรุณาศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และกดยอมรับ/allow

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save