Sign In

SIP Tea Talk 2 – จาก Blockchain ถึงธนาคารอาหาร กลไกดิจิทัลเพื่อระบบอาหารที่ยั่งยืน

SIP Tea Talk 2 – จาก Blockchain ถึงธนาคารอาหาร กลไกดิจิทัลเพื่อระบบอาหารที่ยั่งยืน

Category:

Product Description

SIP Tea Talk 2 จาก Blockchain ถึงธนาคารอาหาร กลไกดิจิทัลเพื่อระบบอาหารที่ยั่งยืน

Blockchain เพื่อลดขยะอาหารและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประสบการณ์จากเซอร์เบีย

วิทยากร – Milos Krivokuca, UNDP Serbia’s Head of Tech Cell and ICT Unit

ประสบการณ์จากเซอร์เบียในเรื่องการจัดการบริจาคอาหารและธนาคารอาหารนั้นได้มาจากการสนับสนุนของรัฐบาล และภาคเอกชน ในส่วนของเทคโนโลยีที่ UNDP Serbia พัฒนาขึ้นมานั้นเป็นระบบอัตโนมัติโดยใช้ blockchain และเป็นความร่วมมือกับภาคธุรกิจที่เป็นเจ้าของเครือข่ายร้านค้าปลีกทั่วประเทศ เราเริ่มมาจากทำให้เขาเห็นขั้นตอนในการบริจาคและประโยชน์ที่จะได้จากระบบอัตโนมัติ ซึ่งใช้เวลาพูดคุย ทำความเข้าใจ และหารือมากกว่า 1 ปี เพื่อให้เขาเห็นระบบว่าบล็อกเชนนั้นโปร่งใส อัตโนมัติ ทำให้เห็นปริมาณอาหารจากแพลตฟอร์มจะเอาไปให้กับกลุ่มเปราะบาง โดยเชื่อมโยงกับ NGO ที่มาสนุนการจัดการรวบรวมอาหารและจัดแจก ทุกวันนี้ปริมาณการบริจาคอาหารเพิ่มขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา โดย UNDP ทำงานร่วมกับภาคี บริษัทค้าปลึกในการจัดการห่วงโซ่อาหารโดยทำงานแบบอัตโนมัติ

ด้านกลไกการใช้บล็อกเชนจัดการแก้ปัญหาอาหารส่วนเกินร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แพลตฟอร์มจะเปิดให้มีการลงทะเบียนผู้ใช้ มีการโพสภาพอาหารจากบริษัทค้าปลีกเรื่องการบริจาค มีการโพสการทำงานของการแจกจ่ายจากภาค NGO ผ่านแคมเปญ Plate by Plate ที่ UNDP เป็นผู้ริเริ่มพัฒนา โดยเริ่มจากการทำงานในระดับเล็กก่อน จนกระทั่งมีคนที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัทค้าปลีกในเครือข่าย NGOs และชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น เพราะระบบเน้นความโปร่งใสและทำงานอัตโนมัติ

การทำงานของแพลตฟอร์มนั้นเริ่มจาก user เข้ามา Login เข้าไปยังช่องทางว่าเป็นผู้บริจาคหรือเป็น NGO ดูจำนวนอาหารที่มีสำหรับบริจาค ถ้าเป็น NGO ก็กดจองไว้ เข้ามากดเลือกอาหาร ในข้อมูลจะแสดงรายละเอียดว่าอาหารมีกี่กิโล มีผลไม้ มีอาหารอะไรบ้าง ให้มารับได้ภายใน 2 ชั่วโมง ถ้าไม่เข้ามารับภายในเวลาที่กำหนด ระบบก็เปิดให้จองอีกครั้ง และองค์กรอื่นสามารถเข้ามาจองได้ ถ้า login เป็นบริษัทก็จะใส่ข้อมูล ใส่ร้านอาหารที่มีความประสงค์จะบริจาค เป็นระบบง่ายๆเหมือนแพลตฟอร์มซื้อขายต่างๆ ในแพลตฟอร์มนี้ NGO ก็จะสามารถเห็นได้ว่าร้านไหนบริจาคอะไรเท่าไร มันเป็นการจัดการ Data และการเอาเทคโนโลยีมาใช้นั่นเอง ถ้าต้องการนำไปใช้ก็สามารถขอไปใช้ได้

ความท้าทายในการติดต่อกับผู้บริจาค การทำงานและการแก้ปัญหา ก็คือการพูดคุยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นประโยชน์ของการทำงาน ตอนนี้เรามี NGO อยู่ 60 องค์กรที่ทำงานด้วย จน 2 ปี ที่ผ่านมานี้ก็มีการพัฒนา option เช่น ให้ร้านนั้นบริจาคให้กับองค์กรนั้น สุดท้ายก็พัฒนาไปด้วยกันและทำให้ระบบทำงานได้

New digital platform for food donation Plate by Plate launched

Slides – Serbia Food Donation Platform

Plate by Plate – TANJIR PO TANJIR

จากขยะอาหารไร้มูลค่าสู่ระบบส่งต่อและธนาคารอาหารออนไลน์

วิทยากร – ณภัทร พงษ์แพทย์ ที่ปรึกษาโครงการ มูลนิธิสโกลาร์ส ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS)

มูลนิธิสโกลาร์ส ออฟ ซัสทีแนนซ์ หรือ SOS เป็นมูลนิธิที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับงานของ UNDP Serbia คือ จัดการอาหารส่วนเกิน ที่ทำมาแล้วรสชาติไม่ผ่าน วัตถุดิบที่ตกสเป็ค ใกล้หมดอายุ ขายไม่ได้ แต่มันยังไม่เสีย ก็ใช้รถตู้เย็นไปรับยังจุดต่างๆ มีพาร์ทเนอร์เป็นโรงแรมและห้างสรรพสินค้า มีสาขาที่ภูเก็ต กรุงเทพ เชียงใหม่ มีรถตู้เย็น 11 คัน ส่งให้กับกลุ่มเปราะบาง เช่น วัด สถานพินิจ ผู้พิการ สถานพินิจ โรงเรียน ทำงาน 7 วัน หยุดแค่สงกรานต์และปีใหม่ หนึ่งคันวิ่ง 40 จุด พอตกเย็นก็ส่งให้ชุมชนในวันนั้นเลย

ในช่วงปีแรกๆการสนับสนุนมาจากแหล่งทุนต่างๆ ตอนนี้ก็พยายามเดินด้วยตัวเองและหาเงินสนับสนุนจากรัฐบาล โปรเจ็คตอนนี้คือ Cloud Food Bank เช่น มีคนให้อาหารมาตอนนี้ 500 ตัน แล้วมันไม่มีที่เก็บ แต่การจัดตั้งโกดัง มันใช้เงินเยอะมากๆ ถ้าจะเกิดธนาคารอาหารโดยไม่ต้องทำโกดัง solution ก็คือ ใช้ Blockchain ลงข้อมูลวันที่จะปล่อยของให้บริจาค ปริมาณ จับคู่กับข้อมูลผู้ขอรับบริจาค เช่น มีผู้หญิง เด็กที่ขอนมจำนวนเท่าไร จับคู่กับระดับปัจเจกและระดับใหญ่ มี BigData ของข้อมูลประเภทอาหาร/น้ำหนัก ปลายทางที่ต้องไปส่ง เป็นข้อมูล Excel หกปีที่ผ่านมาทำให้ได้ข้อมูลการบริจาคแต่ละสเกลจากผู้บริจาคที่หลากหลาย ซึ่งมีพฤติกรรมที่หลากหลาย เช่น ถ้าเป็นระดับปัจเจกที่บริจาคตามโอกาส จะบริจาคปีละครั้ง ถ้าเป็นร้านอาหารอาจเป็นช่วงที่บ่อยขึ้น ถ้าเป็นอุตสาหกรรมก็จะมีรอบที่ต้องกำจัดวัตถุดิบที่ชัดเจนขึ้น เรามี Food Safety Specialist ที่พิจารณาคุณภาพของ ความปลอดภัย ไม่เอาของหมดอายุ ทำความเข้าใจกับผู้บริจาค นี่เป็นตัวแบบของ FoodBank ที่ทำมาแล้ว 3 เดือนในกรุงเทพ

Cloud Food Bank

SOS Thailand

ตรวจสอบย้อนกลับ ระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อย่างมีส่วนร่วม

วิทยากร – สนธิกาญจน์ วิโสจสงคราม ประธานสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดสงขลา

Painpoint เดิมๆในการทำงานพื้นที่คือ เกษตรกร ไม่มีระบบในการบันทึกข้อมูลต้นทุน การผลิต อย่างมีระบบในการรับรองมาตรฐาน จึงไม่สามารถต่อยอดไปสู่กลางน้ำ ปลายน้ำได้ เพราะมันไม่มีแพลตฟอร์มที่จะทำให้มีข้อมูลเอาไปพัฒนาคุณภาพในการทำงาน เช่น ตลาดกล้วยเส้น มีออเดอร์มาหนึ่งแสนซอง แต่ไม่มีกล้วยจะส่งมันก็ทำงานไม่ได้

การตรวจสอบได้จากต้นน้ำ และ ผู้ตรวจระบบอินทรีย์ PGS ในกระบวนการผลิต มันต้องมีการมีส่วนร่วมทางเกษตรกรรม ที่ทำงานด้วยกันตั้งแต่เกษตรยัน SME คณะทำงานแบบ OAN (Organic Agriculture Network) จึงถูกตั้งขึ้นมา ให้เห็นข้อมูล Supply จากเกษตรกร เป็นข้อมูลตัวตนที่เชื่อถือได้ มีข้อมูล location ขนาดพื้นที่ กำลังการผลิต รอบเวลาการผลิต และรายละเอียดการผลิต อีกฟากคือข้อมูลฝั่งผู้ซื้อที่เป็น Social Enterprise ในรูปแบบนี้ผู้ซื้อ ผู้ตรวจผู้ขายก็จะเข้าถึงข้อมูล OFM (Organic Future Market) ทำให้ทราบได้ว่าของจะออกมาสู่ตลาดเวลาไหน ปริมาณเท่าไร ผู้ประกอบการก็จะสั่งซื้อโดยที่มีข้อมูลที่ชัดเจนได้

การทำเกษตรอินทรีย์ที่ใช้ระบบข้อมูลตัวนี้จะถูกขยายสเกลการทำงาน เพื่อให้เกิดเกษตรเป็นเครือข่าย ที่วางแผนการผลิต และเกิดแผนการตลาดได้ ผ่านกลไกระดับอำเภอของผู้ตรวจแปลงอินทรีย์ที่ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ เกิดระบบบันทึกข้อมูลการผลิต ที่เจ้าของก็พิจารณาความคุ้มค่าได้ ผู้บริโภคก็ตรวจสอบย้อนกลับได้โดยใช้นวัตกรรมง่ายๆ ที่จองล่วงหน้าได้ ในระบบ และยังทำให้เกษตรกรได้เชื่อมโยงวางแผนกับผู้ประกอบการ จากเดิมที่เป็นเกษตรกรที่ไม่มีใครรู้จัก ยกระดับไปสู่ภาคีเกษตรอินทรีย์ที่มีตลาดความมั่นคงทางอาหาร

ก้าวต่อไป โครงการมุ่งที่จะขยายเครือข่ายระดับภูมิภาคกับจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ไปทำงานกับโรงเรียนผลกลไกระดับอำเภอที่มีอยู่ ให้มีตลาดเขียวในโรงเรียน นิคมเกษตรกรรมตามนโยบายจากครัวไทยไปสู่ครัวโลก เชื่อมโยงการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดน ถ้าทุกจังหวัดเชื่อมโยงประวัติศาตร์เข้ามากับภาคการเกษตรให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ มันจะนำเม็ดเงินเข้ามาสู่การพัฒนาจังหวัดได้อย่างมหาศาลและเกิดความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมได้

สิ่งที่เราบอกได้ว่ามันเกิดความยั่งยืนคือ เราพัฒนาคน ก่อนพัฒนาผลิตภัณฑ์  การใช้ภูมิปัญญาได้ มันทำให้เกิดเครือข่าย การปูพื้นฐานให้กับคนรากหญ้าแบบง่ายๆ ต่างกับที่ภาครัฐทำแบบวิชาการ มันไม่มีใครทำได้ พอทำแบบบ้านๆในการปลอดสารพิษ ทำให้ฐานชาวบ้านมีจิตสำนึก รายได้เกิดขึ้นจากการขายแบบอินทรีย์ที่ได้รายได้มากกว่า ชาวบ้านก็ไม่ยากที่จะเลือกเปลี่ยนวิธีผลิตว่าจะใช้สารเคมีหรือสารอินทรีย์ ผู้เข้าร่วมเสนอว่า ในทำนองเดียวกัน เราเริ่มจากให้ได้ GMP ก่อนก็ได้ มันจะทำให้ได้มาตรฐานขั้นต้นก่อนง่ายขึ้น

OAN (Organic Agriculture Network)

บทสรุป ความท้าทาย และบทเรียนที่ได้รับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ กรุณาศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และกดยอมรับ/allow

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save