Sign In

SHARE TOOLKIT

This post is also available in: English

SHARE TOOLKIT

นอกจากการขับเคลื่อนแพลตฟอร์มนวัตกรรมทางสังคมด้วยการฟังอย่างลึกซิ้ง การร่วมสร้างสรรค์ และการสนับสนุนงบประมาณโครงการแล้ว UNDP มีความตั้งใจจะสร้างชุมชนของผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นชายแดนใต้ด้วยกระบวนการและเครื่องมือใหม่ ๆ จึงได้สร้างกล่องเครื่องมือ (TOOLBOX) อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่องแพลตฟอร์มนวัตกรรมทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงระบบในภาคใต้ เพื่อนำเสนอเครื่องมือการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมจำนวนหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาและทดลองใช้โดย UNDP และพันธมิตรตลอดการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยคุณสามารถนำไปปรับใช้ได้ในหลายกิจกรรมและหลายโอกาส

UNDP ได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมทั้งหมดเพื่อตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่ในกล่องเครื่องมือนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีการรับประกันถึงความถูกต้องในการนำไปใช้ใดๆ ไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยนัย ความรับผิดชอบในการตีความและการใช้งานเครื่องมืออยู่กับผู้อ่าน นอกจากนี้ ลิงค์ไปยังเว็บไซต์ที่มีอยู่ในปัจจุบันถูกบรรจุไว้เพื่อความสะดวกของผู้อ่านและถือว่าถูกต้องในเวลาที่เผยแพร่ UNDP จะไม่รับผิดชอบต่อความถูกต้องอย่างต่อเนื่องของข้อมูลหรือเนื้อหาของเว็บไซต์ภายนอกใดๆ

  • FEEDBACK ขอความร่วมมือหน่วยงานหรือบุคคลที่สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นโดยกรอกฟอร์มด้านล่าง เพื่อบอกเล่าความรู้สึกหรือประสบการณ์การใช้เครื่องมือและกระบวนการในกล่องเครื่องมือ (TOOLBOX) ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคุณจะเป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไขประสิทธิภาพและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการสร้างชุมชนแห่งการแบ่งปันกระบวนการ วิธิการ ความรู้ และเครื่องมือในท้องถิ่นด้วย
  • SHARE หากโครงการ/หน่วยงานของคุณมีการสร้างสรรค์หรือใช้เครื่องมือใหม่ ๆ ที่สามารถแบ่งปันเพื่อประโยชน์ให้กับชุมชนผู้ขับเคลื่อนในวงกว้างได้ กรุณาส่งข้อมูล คำอธิบาย หรือตัวอย่างเกี่ยวกับเครื่องมือหรือกระบวนการดังกล่าวเข้ามาได้ในฟอร์มเดียวกัน รวมถึงสามารถส่งบทความสั้นเกี่ยวกับชุมชนหรือโครงการมาแบ่งปัน เพื่อเราจะได้พิจารณานำเสนอในหน้าเว็บไซต์และเผยแพร่ต่อไป


This toolbox is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 IGO.

You are free to:

  • Share — copy and redistribute the material in any medium or format
  • Adapt — remix, transform, and build upon the material The licensor cannot revoke these freedoms as long as you follow the license terms.

Under the following terms:

  • Attribution — You must give appropriate credit, provide a link to the license, and indicate if changes were made. You may do so in any reasonable manner, but not in any way that suggests the licensor endorses you or your use.
  • NonCommercial — You may not use the material for commercial purposes.
  • ShareAlike — If you remix, transform, or build upon the material, you must distribute your contributions under the same license as the original.

— You may not apply legal terms or technological measures that legally restrict others from doing anything the license permits.

TOOLBOX: กล่องเครื่องมือสำหรับการฟัง จัดระบบข้อมูล ทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหา ออกแบบทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ร่วมสร้างสรรค์ ร่วมออกแบบ ทดลองทำ และถอดบทเรียน

แบบจำลองธุรกิจและผลลัพธ์ของโครงการ คือ แผนภาพรวมหน้าเดียวที่แสดงถึงสิ่งที่คุณได้ทำ (หรือสิ่งที่ต้องการทำ) รวมถึงวิธีการดำเนินการของคุณโดยสามารถถ่ายทอดโครงสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับการจัดการและกลยุทธ์ ด้วยการกำหนดกิจกรรมและความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับความคิดริเริ่มของคุณเองและการเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ ซึ่งแนวคิดรูปแบบภาพนี้ริเริ่มโดย Osterwalder และ Pigneur เป็นประโยชน์สำหรับองค์กรและธุรกิจทั้งที่มีอยู่แล้วและที่เกิดขึ้นมาใหม่ โครงการกิจกรรมที่มีอยู่แล้วสามารถใช้แบบจำลองนี้เพื่อพัฒนาความคิดริเริ่มและโอกาสความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น เนื่องจากแบบจำลองจะแสดงให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นและเชื่อมโยงให้กิจกรรมต่างๆ มีความสอดคล้องกัน ส่วนโครงการใหม่สามารถใช้แบบจำลองนี้เพื่อวางแผนและหาวิธีทำให้ข้อเสนอเป็นจริงได้

แต่ละหัวข้อในแบบจำลอง สามารถกระตุ้นให้ผู้ใช้คิดกิจกรรมหรือแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบต่าง ๆ แยกออกจากกัน ในขณะเดียวกัน การใช้ภาพหน้าเดียวสำหรับหนึ่งแบบจำลอง จะกระตุ้นให้เกิดมุมมองและแนวคิดใหม่ๆ เพื่อให้แต่ละไอเดียมีความเชื่อมโยงกันได้ ซึ่งโครงสร้างนี้ยังช่วยให้การสนทนากลุ่มมีความเข้มข้นมากขึ้นและทำให้ทุกคนมีความเข้าใจตรงกัน

วิธีการใช้เครื่องมือ

ขั้นตอนแรกที่ง่ายที่สุดสำหรับวิธีการใช้เครื่องมือการออกแบบแบบจำลองธุรกิจเพื่อสังคม คือ การระบุถึงสิ่งที่คุณทำ สิ่งนี้สามารถช่วยให้โฟกัสไปที่เป้าหมายหลักของคุณในขณะที่ได้กรอกข้อมูลไปในองค์ประกอบต่างๆของแผนภาพ จากนั้นคุณสามารถต่อยอดจากเป้าหมายนั้น ๆ และสามารถทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น โดยการเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมและข้อมูลอื่นๆ ที่คุณมี

เริ่มต้นด้วยแผนภาพเปล่าและเพิ่มข้อความที่เป็นคำสำคัญลงไปในช่องว่างแต่ละอันของแผ่นภาพ คุณอาจใช้การแปะกระดาษ (sticky notes) ลงไปซึ่งสะดวกในการย้ายไอเดียในแต่ละช่อง ทั้งนี้ คุณอาจใช้สีในการจำแนกกลุ่มลูกค้าหรือผู้ได้รับผลประโยชน์เฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม ต้องระวังตกหลุมพลางกับความคิดแรกของคุณและคุณยังสามารถฝึกฝนและเรียนรู้วิธีใหม่ ๆ ในการทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยการทำแผนที่แบบจำลองธุรกิจใหม่ ๆ หรือนวัตกรรมที่คุณชื่นชอบหรือสนใจแทนการร่างรูปแบบธุรกิจแบบอื่น ๆ สำหรับผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยีเดียวกัน

SBMC_Text_TH-EN

SBMC

Lean Canvas

ในการทำตัวต้นแบบ โครงการเพื่อทดสอบสมมติฐาน โครงการนำร่อง หรือโครงการพัฒนาใด ๆ จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการวัดผลลัพธ์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณได้อย่างชัดเจนตามแผนงานและตัวชี้วัดที่กำหนดในแผนงานหรือแบบจำลองธุรกิจเพื่อสังคม  ทั้งนี้ โครงการที่ดีต้องให้ความสำคัญกับการมีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายของโครงการก่อนเริ่มโครงการ หรือที่เรียกว่า baseline เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการวัดผลลัพธ์ว่าโครงการได้สร้างการเปลี่ยนแปลงในทางบวกและลบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้เกี่ยวข้องอย่างไร ทั้งในระยะของโครงการและระยะยาว โดยข้อมูลพื้นฐาน (baseline) ควรครอบคลุมสถานะทางเศรษฐกิจ รายได้ เพศ อาชีพ ความรู้และศักยภาพในด้านที่เกี่ยวข้อง สถานะครอบครัว ความท้าทายและปัญหาที่แต่ละกลุ่มกำลังเผชิญ ฯลฯ โครงการอาจใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่มีอยู่แล้วหรือจัดทำการสำรวจ/หารือกับกลุ่มเป้าหมายด้วยเครื่องมือวิธีการที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนและโครงการ

ตัวอย่างแบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้ลดการว่างงานในชุมชน จึงมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับสถานะของรายได้และภาระครัวเรือนเป็นสำคัญ หากคุณกำลังทำโครงการเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม อาจต้องพัฒนาแบบสำรวจที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดเป้าหมาย เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ รูปแบบแนวทางการปรับตัวในภาวะภัยพิบัติ เป็นต้น

Livelihood Survey

ตัวอย่างการจัดทำข้อสรุปจากแบบสำรวจ

จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด…….คน

จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่อายุมากกว่า 60 ปี จำนวน…….คน

จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่อายุน้อยกว่า 18 ปี จำนวน…….คน

จำนวนสมาชิกที่เป็นผู้พิการ จำนวน…….คน

จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม มีผู้ว่างงานทั้งหมด…….คน

ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด มีรายได้ทั้งหมด…….คน มีรายได้เฉลี่ย…….บาทต่อคน
แหล่งที่มาของรายได้ เรียงตามลำดับมากไปน้อย (โปรดระบุจำนวนคนที่ตอบในข้อนั้นๆ)

– รายได้จาก………..…….……. (ผู้ตอบ…….คน)

– รายได้จาก………..…….……. (ผู้ตอบ…….คน)

– รายได้จาก………..…….……. (ผู้ตอบ…….คน)

– รายได้จาก………..…….……. (ผู้ตอบ…….คน)

– รายได้จาก………..…….……. (ผู้ตอบ…….คน)

สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบโดยภายรวมของคนในชุมชนอย่างไรบ้าง

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

แนวทางการจัดทำแผนและโครงการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น: การจัดการระบบอาหารเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระดับท้องถิ่น

ตัวอย่างการประยุกต์แนวคําถามและการแปลผลการสํารวจสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร

ตัวอย่างการระบุสถานการณ์ปัญหาระดับความมั่นคงทางอาหาร

แผนผังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการแสดงภาพที่ใช้เพื่ออธิบายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดและจัดหมวดหมู่ในแง่ของอิทธิพลและความสนใจของแต่ละบุคคลในผลิตภัณฑ์ โครงการ หรือแนวคิดบนแผนผังแผ่นเดียว การบันทึกผู้มีส่วนร่วมสำคัญและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องสามารถมองเห็นผู้ได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในขณะเดียวกันการสร้างแผนผังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความละเอียดสามารถช่วยระบุวิธีการของผู้มีส่วนร่วมกับคนที่เหมาะสมเมื่อคุณวางแผนที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือโครงการ

วิธีการใช้

  1. คุณอยู่ตรงไหนในแผนผังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (เขียนชื่อและหน่วยงานของคุณลงโพสอิท)
  2. เพิ่มคนอื่นที่ไม่ได้มาวันนี้แต่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานที่คุณทำด้วย พวกเขาอยู่ตรงไหน?
  3. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละคนสัมพันธ์กันอย่างไร (วาดเส้นทึบ)
  4. ถ้าเราจะขยายผลของงาน ต้องสัมพันธ์ร่วมมือกับใครอีก เห็นโอกาสอะไรบ้าง (วาดเส้นประ)
  5. ใครคือตัวละครสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงระบบอาหารได้? (โหวตด้วยสติ๊กเกอร์คนละ 2 โหวตและพูดคุยแลกเปลี่ยน)

ตัวอย่าง

หน้า 31-44 คู่มือปฏิบัติการเพื่อออกแบบและพัฒนาตลาดสดอย่างมีส่วนร่วมโดยยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง

Idea Creation Canvas
เครื่องมือการสร้างสรรค์ไอเดีย
คือ เครื่องมือที่ใช้ในการอธิบายภาพรวมของไอเดียแห่งการสร้างสรรค์ โดยรายละเอียดต่างๆ ที่ปรากฏใน Canvas นี้จะ ช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูล การประเมินทบทวนความเข้าใจ การเก็บรวบรวม ไอเดียที่ได้จากการศึกษา Trend & Case study เพื่อนํามาสู่การสร้างสรรค์ไอเดียเพื่อการพัฒนาต่อไป

  • วิธีการทความเข้าใจปัญหาคุณสามารถทบทวนจากข้อมูลที่คุณได้จากการสังเกตการณ์ (Observation) การสัมภาษณ์ผู้ใช้ (Qualitative Interview) และการสังเคราะห์ผ่านเครื่องมือผ่าน STAKEHOLDER MAP และ JOURNEY MAP มองหาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงได้ จะช่วยให้การทงานอยู่ในขอบเขตที่แน่ชัด และสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด
  • การเปิดมุมมองใหม่ (Fresh Eyes) คือการใช้มุมมองใหม่ เพื่อร้างสรรค์แนวคิดที่ฉีกไปจากแนวคิดเดิมๆ ช่ การศึกษาข้อมูลจากกรณีศึกษาในการจุดประกายให้เกิดไอเดียสร้างสรรค์ (IDEATE) เห็นโอกาสของนวัตกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ช้บริการ และ ผู้คนที่เป็นไปได้หลายๆ แบบ ซึ่งคุณสามารถรวบรวมเรื่องราวและไอเดียทั้งหลาย จากการ อ่าน การ ฟั และการพูดตามแหล่ข้อมูลต่างๆ เก็บไว้เพื่อเตรียมย่อยในภายหลัง
  • เทคนิคในการประยุกต์ไอเดียจากข้อมูลที่ได้รับเพื่อการปิดมุมมองใหม่ คือ ย่าแค่รับฟังเพียงอย่างเดียว ต้องลองคิดเสมอว่า แนวคิดนี้สามารถต่อยอดเป็นอะไรได้อีกบ้าง ถ้ต้องแก้ไขปัญหาเดียวกันนี้ คุณจะทําอย่างไรได้บ้าง

ข้อตกลงกลุ่ม เป็นเอกสารที่สามารถอธิบายถึงโครงสร้างการทำงานและความร่วมมือของสมาชิกที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการนั้นๆ ข้อตกลงกลุ่มควรเป็นฉันทามติหรือความยินยอมของสมาชิกและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่านกระบวนการปรึกษาหารือ ร่วมสร้างสรรค์ และพูดคุยกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ใจกลางสำคัญในเชิงกระบวนการคือ สร้างการมีส่วนร่วมในการออกแบบโครงสร้างความสัมพันธ์และอำนาจตั้งแต่เริ่มต้นโครงการหรือองค์กร โดยอาศัยเครื่องมือที่หลากหลายในการร่วมสร้างสรรค์และคำนึงถึงผละกระทบทั้งทางบวกและลบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ด้อยโอกาสในชุมชน/สังคม

การมีข้อตกลงกลุ่มสามารถช่วยให้การจัดการความร่วมมือและอำนาจการตัดสินใจของกลุ่มเป็นไปในทิศทางที่เป็นธรรมและยั่งยืน โดยแสดงถึงการกระจายอำนาจหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้สร้างให้กับชุมชนนั้นๆ และยังรวมไปการแสดงให้เห็นภาพถึงค่าตอบแทนการทำงานและการจัดสรรผลกำไร เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินงานสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในแต่ละโครงการ

Group Commitment Sample Template

ปัญหาที่ซับซ้อนหลายอย่างมีสาเหตุและผลกระทบที่แตกต่างกันหลายประการ โดยมีหลายองค์กรจากภาคส่วนต่าง ๆ พยายามจะแก้ปัญหาทีละอย่าง เนื่องจากหลายองค์กรมีทรัพยากรจำกัด ดังนั้น การสร้างความร่วมมือพันธมิตร จึงเป็นแนวทางที่ดีที่ไม่เพียงแต่เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กว้างและหลากหลายมากขึ้นด้วย การสร้างพันธมิตรช่วยสร้างความเข้าใจร่วมกันและกวาดจับความรู้ความเข้าใจที่กระจัดกระจายอยู่ในกลุ่ม ชุมชน และเครือข่ายที่หลากหลาย

การสร้างพันธมิตรต้องใช้ความพยายามอย่างมากจากทุกคนที่เกี่ยวข้อง มักต้องมีการลงทุนและใช้เวลาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ แผนที่การสร้างพันธมิตรจะแบ่งกระบวนการออกเป็นขั้นตอน ดังนั้น คุณจึงสามารถคาดการณ์ปัญหาและความท้าทายในอนาคตได้

วิธีการใช้เครื่องมือ

แผนที่การสร้างพันธมิตรจะอธิบายขั้นตอนต่างๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเป็นหุ้นส่วน ตัวแผนที่ระบุสิ่งที่จำเป็นในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ความสัมพันธ์พันธมิตรดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริง แผนที่เป็นการเสนอแนวทางมากกว่ากำหนดกฎเกณฑ์ตายตัว แต่ละขั้นตอนที่ระบุไว้ในแผ่นงานล้วนมีความสำคัญและไม่ควรละเลย เพื่อให้มั่นใจได้ว่า พันธมิตรจะยังคงความสมดุลและอยู่ในเส้นทางที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้

การเป็นหุ้นส่วนที่ดี ต้องก่อให้เกิดเป็นประโยชน์ร่วมกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

คุณสามารถใช้แผนที่การสร้างพันธมิตรเพื่อวิเคราะห์ว่าคุณและพันธิมิตรของคุณอยู่ในระยะ/จุดใด เพื่อที่คุณจะได้ก้าวผ่านขั้นตอนต่อไปและสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งร่วมกัน

  • ระบุจุดที่แสดงให้เห็นว่าคุณอยู่ตำแหน่งไหน
  • ระบุจุดหรือเป้าหมายที่คุณต้องการไป
  • ใช้แบบฟอร์มเป็นเหมือนแผนที่เพื่อกำหนดวิธีการไปสู่เป้านั้นๆ

การทำแผนปฏิบัติการสร้างพันธมิตร สามารถช่วยอธิบายว่า คุณจะเดินจากจุดที่อยู่ปัจจุบันไปถึงเป้าหมายได้นั้น ต้องทำกิจกรรมอะไรบ้างในระหว่างนั้น

Partnership Mapping Canvas

กระดานแสดงการทบทวนย้อนหลัง หรือ Retrospective board มีประโยชน์อย่างมากสำหรับทีมผู้ร่วมสร้างสรรค์โปรเจค ในการทำความเข้าใจว่า สิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร หรือ การสร้างต้นแบบในช่วงต้นดำเนินไปอย่างไร (ดีและไม่ดี) จากนั้นทีมจะสามารถใช้ข้อมูลจากการทบทวนนี้ เพื่อปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ และดำเนินการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ (ถ้าจำเป็น)

ทำไมต้องใช้กระดานแสดงการทบทวนย้อนหลัง? เครื่องมือนี้เป็นประโยชน์มากเพราะอะไร?

“ทุกคนในทีมสามารถบอกเล่าความคิดของตนเองได้: การประชุมทบทวนย้อนหลังจะเชิญสมาชิกในทีมของคุณทั้งหมดให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึก เช่น สิ่งที่ผ่านไปด้วยดี? กิจกรรมหรืองานที่ได้ภายในระยะเวาสั้นครั้งล่าสุด? สิ่งที่น่าจะเรียนรู้ได้มากกว่านี้? คุณนำข้อมูลที่ได้จากการทบทวนไปปรับปรุงการทำงานหรือทีมอย่างไร?”

การมองย้อนกลับไปทบทวนสิ่งที่คุณทำร่วมกัน เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น (ไม่ใช่เฉพาะสมาชิกในทีมที่มีบุคลิกเปิดเผยมากที่สุด)

  1. ความท้าทายได้รับการจัดการ ทีมส่วนใหญ่มักง่วนอยู่กับการทำงานให้เสร็จลุล่วงได้ โดยไม่ได้ถอยหลังกลับไปประเมินว่างานนั้นเสร็จลุล่วงได้อย่างไร อาจมีจุดติดขัดหรือความตึงเครียดที่คุณไม่ทราบหรือสังเกตมาก่อน ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขโดยการใช้กระดานแสดงการทบทวนย้อนหลัง กิจกรรมนี้ไม่ใช่เพื่อการระบายความรู้สึก แต่เป็นโอกาสที่ทีมของคุณจะจัดการกับความท้าทายเหล่านั้นและทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
  2. การทำงานร่วมกันและบรรยากาศของทีมที่ดีขึ้น: นี่คือประโยชน์ที่ใหญ่ที่สุดของการใช้กระดานแสดงการทบทวนย้อนหลัง เมื่อทีมของคุณใช้ประโยชน์จากช่วงเวลาระหว่างทำงานปกติ เพื่อประเมินการทำงานร่วมกัน กระบวนการและผลลัพธ์การทำงานของคนในทีมจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ทีมจะสามารถระบุจุดที่ต้องปรับปรุงและดำเนินการกับส่วนนั้นได้จริง

การวิเคราะห์ SWOT-P หรือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์สำหรับการประกอบธุรกิจหรือแม้แต่การดำเนินงานต่างๆ ซึ่งช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานรับรู้ถึงจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) จากสภาพแวดล้อมภายใน มองเห็นโอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) จากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนจุดเจ็บปวดทนปัญหา (Pain Point) ต่อการดำเนินกิจกรรม

Creative Cultural Canvas คือเครื่องมือที่ใช้ในการอธิบายภาพรวมของไอเดียแห่งการสร้างสรรค์เอกลักษณ์ อัตลักษณ์เมือง โดยรายละเอียดต่างๆ ที่ปรากฏใน Canvas นี้จะช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูล ว่าเราต้องการรู้อะไรบ้างสิ่งใดในเมืองที่สามารถบอกเราหรือช่วยให้เรารู้จักและเข้าใจเมืองนั้นได้ เพื่อนำมาสู่การสร้างสรรค์ไอเดีย

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อร่วมออกแบบ

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมายถึง บุคคลหรือองค์กรที่พบเจอกับการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบโดยเป็นผลมาจากการวิเคราะห์กิจกรรม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือผู้ที่จะได้รับหรือสูญเสียอะไรบางอย่างผ่านผลลัพธ์ของกระบวนการหรือโครงการ ในหลาย ๆ แวดวง มักเรียกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่าเป็นกลุ่มผลประโยชน์ และสามารถมีอิทธิพลอย่างมากต่อผลลัพธ์ของกระบวนการทางการเมือง โครงการต่าง ๆ จะได้รับประโยชน์จากการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อระบุและวิเคราะห์ความต้องการและข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโครงการเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือเพื่อโน้มน้าวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย

แผนผังอิทธิพลต่อกิจกรรมและโครงการ

วิธีนี้ช่วยให้กลุ่มหรือทีมของคุณเข้าใจมากขึ้นว่า ทำไมผู้คนถึงมีจุดยืนนั้น ๆ และทีมจะดึงเขาเหล่านั้นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการได้อย่างไร การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนี้จะต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมผ่านการทำแผนผังอิทธิพล ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายคือการพัฒนากลยุทธ์สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในโครงการว่าจะวางกรอบหรือสื่อสารหรือนำเสนอข้อมูลอย่างไรให้ออกมาในรูปแบบที่ดีที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อโครงการ และสามารถเป็นวิธีการรักษาความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ทั้งนี้ สามารถกำหนดว่าใครจะเป็นผู้ทำการติดต่อในแต่ละครั้ง จะสื่อสารข้อความ และจะติดตามอย่างไร

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีอำนาจและมีความสนใจเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ/โปรแกรมมาก คือบุคคลหรือองค์กรที่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมและมีบทบาทในโครงการอย่างเต็มที่ หากต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย คนเหล่านี้คือเป้าหมายของแคมเปญนั้นๆ ซึ่งด้านบนสุดของรายชื่อผู้มีอำนาจคือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ซึ่งมักจะเป็นผู้ให้ทุนหรือรัฐบาล ด้านล่างนี้คือคนที่มีความคิดเห็นสำคัญหรือผู้นำทางความคิด การจัดวางตำแหน่งของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามแกนนี้จะสร้างปิรามิดที่บางครั้งเรียกว่า แผนผังอิทธิพล

ผู้มีส่วนได้เสียที่มีส่วนได้เสียที่มีความสนใจสูงแต่มีอิทธิพลต่ำ จะต้องได้รับการสื่อสารและแจ้งให้ทราบความเป็นไปของโครงการอย่างสม่ำเสมอ แต่หากจัดระบบความสัมพันธ์ที่เหมาะสม พวกเขาอาจกลายเป็นกลุ่มผลประโยชน์หรือแนวร่วมที่สามารถล็อบบี้เพื่อการเปลี่ยนแปลงได้ ผู้ที่มีอำนาจสูงแต่ความสนใจต่ำ ควรได้รับการสื่อสารและประคับประคองความสัมพันธ์ให้เกิดความพึงพอใจในโครงการจนกระทั่งเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะผู้อุปถัมภ์หรือผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เสนอ หากเวลาและทรัพยากรเอื้ออำนวย การวิเคราะห์เพิ่มเติมสามารถทำได้โดยสำรวจรายละเอียดเพิ่มเติมตามด้านล่าง:

  1. สถานะอำนาจโดยทั่วไปและตำแหน่ง
  2. ความสนใจที่ได้รับตำแหน่งนั้นๆ

FSP – Stakeholder Mapping & Analysis

แผนผังความคิด แสดงถึงความคิดที่เราได้ประมวลข้อมูลออกมา เป็นเครื่องมือภาพสำหรับการวิเคราะห์ ทำความเข้าใจ สังเคราะห์ และสร้างแนวคิดใหม่

หลักการสำคัญของเทคนิคการทำแผนผังความคิด

จุดศูนย์กลาง: แผนที่ความคิดทุกแผนที่เริ่มต้นที่จุดศูนย์กลาง จุดศูนย์กลางนี้อาจเป็นรูปภาพ คำหลักคำเดียว แนวคิด หรือแม้แต่เครื่องหมายคำถามก็ได้

คำสำคัญที่ไม่ซ้ำ: แผนที่ความคิดทุกรายการมีคำสำคัญที่ไม่ซ้ำกันสองคำซึ่งเชื่อมโยงกับแนวคิดหลักหรือจุดโฟกัส

คำสำคัญย่อย: แผนผังความคิดของคุณจะถูกจำกัดด้วยคำสำคัญ แต่แผนผังความคิดทุกรายการสามารถมีคำสำคัญย่อยที่เกี่ยวข้องได้ไม่จำกัดจำนวน

เส้นโค้ง: เส้นเหล่านี้เชื่อมโยงจากแนวคิดหลักไปยังแนวคิดที่เกี่ยวข้อง (หรือคำสำคัญ) และแนวคิดที่เกี่ยวข้องย่อย (หรือคำสำคัญย่อย) ซึ่งแสดงความสัมพันธ์หรือความเป็นเหตุเป็นผลเชิงตรรกะ

สีและภาพ: สีมีบทบาทสำคัญในการสร้างความแตกต่างระหว่างกระแสความคิดต่างๆ ในแผนผังความคิด รูปภาพแสดงความคิดของคุณ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

คุณสร้างแผนผังความคิดได้อย่างไร?

ด้านล่างนี้จะอธิบายกระบวนการอธิบายทีละขั้นตอนของการทำแผนผังความคิด

  1. วางหัวข้อของคุณไว้ที่ศูนย์กลาง: เขียนคำสำคัญคำเดียวเป็นแนวคิด ปัญหา หรือเป้าหมายหลักของคุณไว้ที่กึ่งกลางของแผนผังความคิดของคุณ การทำเป็นรูปภาพจะทำให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นสำหรับกระบวนการร่วมสร้างสรรค์
  2. เพิ่มคำสำคัญ: แนวคิดหลักของคุณมีสิ่งที่เชื่อมโยงกันอยู่ ซึ่งรวมถึงกลยุทธ์ เสาหลักความคิดสร้างสรรค์ และคลังเทคนิคการออกแบบต่าง ๆ ของคุณ คุณสามารถขมวดเป็นคำสำคัญคำเดียวและผนวกเข้ากับหัวข้อหลักที่เป็นใจกลางความคิดของคุณโดยใช้เส้นโค้ง โดยควรจำกัดคำสำคัญไม่เกินเจ็ดคำ
  3. สร้างคำสำคัญย่อยหรือการเชื่อมโยงกับสิ่งที่เกี่ยวข้อง: เติมสิ่งเชื่อมโยงเกี่ยวข้องย่อย ๆ กับสำหรับคำสำคัญเจ็ดคำของคุณ โดยสามารถมีสิ่งที่เกี่ยวข้องย่อยได้มากเท่าที่คุณต้องการและไม่มีขีดจำกัด!
  4. เล่นกับข้อความ แบบอักษร และการจัดวาง: ใช้สีต่าง ๆ ได้มากเท่าที่คุณต้องการเพื่อประสานเส้น คำสำคัญ แผนภาพ ฯลฯ ทั้งนี้ คุณยังสามารถเปลี่ยนขนาดข้อความได้เพื่อเพิ่มความสนุกให้กับแผนผังความคิดของคุณ และคุณยังสามารถทำให้ข้อความใหญ่ขึ้นเพื่อทำให้เห็นถึงแนวคิดหลักของคุณ

ทำไมต้องเป็นแผนผังความคิด?

  • ช่วยคุณจัดเก็บข้อมูล: คุณอาจลองนึกเปรียบเทียบเสื้อผ้าจำนวนมากที่ไม่เป็นระเบียบกับเสื้อผ้าที่พับเก็บในกระเป๋าเดินทางก็ได้ ซึ่งโครงสร้างแผนผังความคิดและลำดับของข้อมูล สามารถช่วยขยายศักยภาพของหน่วยความจำของคุณ โดยการปรับปรุงการดึงข้อมูลไปใช้ให้มีระเบียบแบบแผนและเป็นระบบมากขึ้น
  • ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: บางครั้งความสามารถในการสร้างสรรค์ของคุณจำเป็นต้องมีการจุดประกายเริ่มต้น แผนผังความคิดจะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างความคิดอย่างอิสระและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของคุณ
  • ทำให้เข้าใจข้อมูลง่ายขึ้น: แผนผังความคิดจัดระเบียบความซับซ้อนของข้อมูลในสมองในรูปแบบภาพ ทำให้โครงการของคุณเข้าใจง่ายมากขึ้น

ซอฟต์แวร์แผนผังความคิดที่มีประโยชน์

คำถาม 5W +H

เราสามารถใช้คำถาม 5W+H เพื่อค้นหาข้อมูลเชิงลึก ตลอดจนข้อค้นพบและข้อมูลใหม่ๆ เพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหาหรือสถานการณ์แบบองค์รวม หรือใช้ 5W+H ตั้งคำถามสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลได้

คุณสามารถทำอะไรกับเครื่องมือนี้ได้บ้าง

  • คำถาม W+H ช่วยให้ได้รับรู้ข้อมูลเชิงลึกและข้อมูลใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยจับประเด็นปัญหาหรือสถานการณ์ในลักษณะที่มีโครงสร้าง
  • สามารถใช้คำถาม W+H เพื่ออนุมานข้อมูลเชิงนามธรรม อารมณ์ความรู้สึกที่เป็นไปได้ และแรงจูงใจได้จากการสังเกตสถานการณ์เฉพาะที่เป็นรูปธรรม
  • ใช้คำถาม W+H ในระหว่างขั้นตอนการสังเกตเพื่อสามารถสังเกตอย่างใกล้ชิดและเจาะลึกยิ่งขึ้นเมื่อค้นพบสิ่งใหม่ๆ

วิธีการใช้เครื่องมือ

คำถาม 5W+H สามารถใช้ได้ในทุกสถานการณ์ ตัวอย่างสถานการณ์และตาราง สามารถดูได้จากที่แสดงด้านล่าง:

เป้าหมาย: เพื่อให้เป็นพื้นฐานสำหรับการสัมภาษณ์/ติดตามการสนทนากับผู้ใช้หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • เตรียมรายการคำถามย่อยที่เป็นไปได้ (เช่น ในรูปแบบของแผนที่ความคิด)
  • พยายามเตรียมให้คำถามที่หลากหลายและ “เล่น” กับคำถามเหล่านั้น ปรับให้เข้ากับสถานการณ์
  • สร้างคำถามสัมภาษณ์หรือแผนที่คำถามจากทั้งหมดนี้
  • พยายามเก็บข้อมูลให้ได้เยอะ ๆ
  • ถามว่า “ทำไม” แม้ในบริบทของคำถาม W+H อื่น ๆ

ตัวช่วยและเทคนิค

“พยายามถามหลาย ๆ ครั้งเพื่อหาคำตอบทีใช่”

  • โดยการถามและถามอีกครั้ง เพื่อที่เราสามารถเจาะลึกลงไปอีก แม้ว่าคุณจะคิดว่าคุณรู้คำตอบแล้ว ให้ถามอีกครั้ง มันอาจดูแปลกๆ แต่ใช้ “ใจของผู้เริ่มต้น” แล้วถามว่า “ทำไม” หลายต่อหลายครั้งเหมือนเวลาเด็กๆ ตั้งคำถาม
  • นอกจากนี้ คุณควรพยายามหาคำตอบมากกว่าหนึ่งคำตอบสำหรับทุกคำถาม คำตอบที่ขัดแย้งกันอาจเป็นที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความต้องการที่แท้จริง
  • หากคำถาม W+H จากตารางไม่สมเหตุสมผลในบริบทของปัญหา ให้ข้ามไป
  • พยายามรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุดด้วยคำถาม 5W+H และใช้ร่วมเทคนิคการสัมภาษณ์อื่นๆ เช่น 5X WHY สามารถสร้างรายการคำถามย่อยที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งในท้ายที่สุดจะถูกรวมเข้ากันเป็นภาพใหญ่ในแผนที่ความคิด

เปลี่ยนคำถามเป็นเชิงลบเพื่อสร้างมุมมองที่แตกต่าง

  • การเปลี่ยนคำถามเป็นเชิงลบจะทำให้เกิดข้อดีและเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ เช่น “เมื่อไหร่ที่ปัญหาจะไม่เกิดขึ้น” หรือ “ใครบ้างที่ไม่ได้รับผลกระทบ”
  • คำถาม 5W+H จะมีประโยชน์มากเมื่อนำไปใช้ในบริบทของกระบวนการระดมความคิด หรือเป็นพื้นฐานสำหรับการถ่ายโอนสิ่งที่อยู่ในความคิดเบื้องต้นออกมาเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ เพื่อแสดงให้เห็นภาพความคิด ความเชื่อ การเชื่อมโยงทุกอย่างที่ทีม/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับรู้หรือคิดอยู่ในใจ

ไม่มีข่าวปลอม – ควรยึดหลักตามข้อเท็จจริงเสมอ

  • นอกจากนี้ จะเป็นการดีเสมอที่จะตรวจสอบยืนยันคำตอบด้วยข้อเท็จจริง เช่น การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

Theory of Change – Logic Model

ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง – แบบจำลองด้วยเหตุผล

การกำหนดทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงก็เหมือนกับการทำแผนที่เดินทางสรุปขั้นตอนที่คุณวางแผนไว้ว่าจะเดินไปเพื่อจะบรรลุเป้าหมาย เครื่องมือนี้ช่วยให้คุณกำหนดได้ว่างานของคุณมีส่วนช่วยในการบรรลุผลตามที่คาดหวังหรือไม่ และมีวิธีอื่นที่คุณต้องพิจารณาด้วยหรือไม่

เครื่องมือทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงไม่เพียงแต่ช่วยให้สร้างภาพที่ชัดเจนและเชื่อมโยงงานของคุณกับเป้าหมายที่ใหญ่กว่าเท่านั้น แต่ยังช่วยให้คุณระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในแผนของคุณด้วยการกำหนดสมมติฐานพื้นฐานในแต่ละขั้นตอน สำหรับองค์กรขนาดใหญ่อาจมีหลายโครงการที่ต้องทำงานพร้อมกัน ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงจะช่วยทำแผนที่เชิงระบบของโครงการต่างๆ จากนั้นจึงพิจารณาได้ว่าโครงการเหล่านั้นเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกันอย่างไร

เครื่องมือนี้ยังสามารถช่วยให้สมาชิกในทีมเข้าใจความสอดคล้องของงานตัวเองรับผิดชอบกับเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น และช่วยให้พวกเขาเข้าใจบทบาทของตัวเองในการช่วยให้ทีมบรรลุเป้าหมาย

วิธีใช้เครื่องมือ

เริ่มต้นด้วยการจดปัญหาหลักที่คุณต้องการแก้ไขและเป้าหมายของคุณ (ระยะใกล้ ระยะกลาง และระยะยาว) ที่คุณต้องการทำให้สำเร็จ จากนั้นกรอกช่องอื่นๆ เช่น เหตุผลของคุณ พยายามระบุให้เฉพาะเจาะจงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพราะจะช่วยให้คุณมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เริ่มจากพิจารณาคำชี้แจงปัญหาของคุณและมุ่งไปกำหนดผลกระทบระยะยาวของคุณอยากให้เกิด จากนั้นเป็นการเขียนกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากปัญหาที่คุณระบุและกลุ่มคนที่คุณหวังว่าจะได้รับการช่วยเหลือจากการทำงานของคุณ (อาจเป็นกลุ่มชุมชนขนาดเล็ก องค์กรขนาดใหญ่ หรือพยายามนึกถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายที่ได้รับผลกระทบจากสาเหตุปัญหาเดียวกัน) โดยเริ่มจากสิ่งที่คุณตั้งสมมติฐานอะไรไว้? จากนั้นลองนึกจะเริ่มต้นตรงไหนเพื่อแก้ไขปัญหา คุณอาจต้องหาสถานที่ บุคคล หรืออุปกรณ์ที่จะเป็นช่องทางแรกในการติดต่อของคุณ ลองนึกถึงขั้นตอนที่ทำได้จริงเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง เช่น การสร้างพันธมิตรหรือปรับแต่งกระบวนการที่มีอยู่ พยายามทำให้ขั้นตอนเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่ต้องลงมือทำให้มากที่สุด

และต่อมาคือการกำหนดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในทันที (output) และผลลัพธระยะกลาง (outcome) ว่าจะเป็นอย่างไร? ทั้งสองอย่างนี้ควรเป็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้และสามารถแสดงให้คนอื่นเห็นได้ เพื่อชี้แจงว่างานของคุณสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรและได้อย่างไร ระบุผลลัพธ์สำคัญที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของคุณ ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในทันที (output) และผลลัพธระยะกลาง (outcome) นี้คือ เงื่อนไขเบื้องต้นที่คุณต้องมีเพื่อบรรลุเป้าหมายผลกระทบระยะยาวที่คุณระบุไว้ก่อนหน้านี้

ในขณะที่คุณกรอกแต่ละช่องในเวิร์กชีต คุณควรไตร่ตรองสมมติฐานหลักที่สนับสนุนขั้นตอนเหล่านี้ในงานของคุณด้วย เพราะอาจช่วยให้คุณมองเห็นความเสี่ยงหรือความเชื่อมโยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างโครงการต่างๆ

Logic Model & Systems Mapping

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ กรุณาศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และกดยอมรับ/allow

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า