Sign In

ระบบชุมชนเกื้อเกษตรอินทรีย์เพื่อฟื้นฟูนาร้างเป็นนาอินทรีย์ ความมั่งคงทางอาหารหลังโควิด 19 – East Forum Foundation

124 หมู่ 9 บางปะกง ฉะเชิงเทรา 24130

This post is also available in: English

โครงการระบบชุมชนเกื้อเกษตรอินทรีย์เพื่อฟื้นฟูนาร้างเป็นนาอินทรีย์ ความมั่งคงทางอาหารหลังโควิด 19 เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นโดยทางมูลนิธิอีสต์ ฟอรั่มที่ต้องการขยายผลเกื้อเกษตรอินทรีย์ที่เกิดจากผลกระทบจากการระบาดไวรัสโควิด 19 รวมทั้งเพื่อฟื้นฟูนาร้าง ระบบนิเวศ วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นโดยการเชื่อมโยงชาวนาอินทรีย์กับผู้บริโภคสีเขียวในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) และมีเป้าประสงค์ที่จะประยุกต์ใช้โมเดลชุมชนเกื้อเกษตรอินทรีย์ในการเพิ่มอัตราการบริโภคข้าวอินทรีย์รวมทั้งผลผลิตพลอยได้จากนาอินทรีย์ รวมทั้งเล็งเห็นการเพิ่มศักยภาพสตรี สร้างรายได้ให้ครัวเรือน และสร้างพื้นที่และโอกาสในกิจกรรมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้


1. เสริมศักยภาพสตรีในการมีส่วนร่วมการเกษตรกรรมและเป็นผู้ค้าขายข้าวอินทรีย์ / ข้าวปลอดสารโดยการสร้างแบรนด์ข้าวของกลุ่ม

  • กิจกรรม
    • ฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วมแผนธุรกิจ (Business Model Canvas:BMC) พัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ : ฝึกอบรมการแพ็คข้าว
  • ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
    • แกนนำชาวนาสตรี 12 คน
    • แกนนำชาวนาผู้ชาย 3 คน
    • ผู้นำชุมชน 5 คน
    • ผู้บริโภคสีเขียวประมาณ 500 คน
  • ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
    • เครือข่ายมีความรู้และสามารถออกแบบแผนธุรกิจ (Business Model Canvas:BMC)
    • สามารถพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าว

2. เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนของสตรี

  • กิจกรรม
    • จัดตั้งกองทุนหมุนเวียนรับซื้อข้าวของสมาชิก ขัดสี บรรจุทำแบรนด์จำหน่าย (มูลนิธิอีสต์ฟอรั่มสนับสนุนงบประมาณ การระดมทุนมวลชน และขอสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เครื่องอบข้าวพลังงานแสงอาทิตย์จากสำนักงานพลังงานจังหวัด)
    • ส่งเสริมการตลาด
      • ติดต่อประสานงานกับโรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม เพื่อนำเสนอผลผลิต
      • ติดต่อประสานงานกับร้านจำหน่วยสินค้าออแกนิค ร้านอาหาร ร้านค้าข้าวทั้งในสามจังหวัดและอื่นๆ
      • การตลาดแบบสั่งจองล่วงหน้า (pre-order) กรรมการมัสยิดในช่วงซะกาต หลังเดือนรอมฎอน
      • การตลาดแบบสั่งจองล่วงหน้า (pre-order) กรรมการมัสยิดในช่วงซะกาต หลังเดือนรอมฎอน
      • ออกร้านผ่านงานอีเว้นท์ต่างๆ เช่น ตลาดนัดสีเขียวที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิโรฒ
  • ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
    • ชาวนาสตรี 64 ครัวเรือน
    • ชาวนาผู้ชาย 9 ครัวเรือน
    • ผู้ได้รับผลประโยชน์ทางอ้อม
      • สมาชิกครัวเรือนของกลุ่ม 436 คน
      • กลุ่มเปราะบาง ประมาณ 100 คนได้รับซะกาตและนักเรียน รร.ดาตีกา
  • ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
    • ครอบครัวเครือข่ายชาวนามีรายได้เพิ่มมากขึ้น (ผลผลิตข้าวอินทรีย์)

3. สร้างพื้นที่และโอกาสให้สตรีมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยการเสริมศักยภาพสตรีในการมีบทบาทระดับครัวเรือน และการตัดสินใจระดับชุมชน

  • กิจกรรม
    • สัมมนาออกแบบโครงสร้าง วัตถุประสงค์กลุ่มเพื่อเตรียมจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน
    • ฝึกอบรมการจัดการความรู้และทักษะการสื่อสาร ผลิตคลิปวีดีโอและภาพถ่าย
  • ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
    • แกนนำชาวนาสตรี 12 คน
    • แกนนำชาวนาผู้ชาย 3 คน
    • ผู้นำชุมชน 5 คน
  • ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
    • เสริมศักยภาพสตรีมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มีบทบาทระดับครัวเรือน และการตัดสินใจระดับชุมชน (เชิงปริมาณและคุณภาพ)

Features

Location

Add Review

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Rating

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ กรุณาศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และกดยอมรับ/allow

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า