Sign In

SIP Tea Talk 4 – ถอดบทเรียนจาก NRF ผลิตอาหารอร่อยด้วยคาร์บอนต่ำ

This post is also available in: English

SIP Tea Talk 4 – ถอดบทเรียนจาก NRF ผลิตอาหารอร่อยด้วยคาร์บอนต่ำ

แดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน)

บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด เป็นบริษัทที่ใส่ใจปัญหาโลกร้อน เพราะเราทุกคนรู้ว่าปัญหาวันนี้น่าจะแก้วันนี้ บริษัทที่ไม่อินกับสิ่งแวดล้อมจะเสียเปรียบ การให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำจะได้เปรียบในเรื่องการส่งออกไปสหภาพยุโรป การมี Certification ของผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน เขาจะดูอันดับที่ 1 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยิ่งเราติดป้าย made in Thailand ฝรั่งจะรู้สึกปลอดภัย คู่แข่งเราตอนนี้คือ made in Australia ซึ่งมีมาตรฐานสูงเรื่องผลิตภัณฑ์อินทรีย์

การจะขายของได้ในตอนนี้เทรนของโลกจึงไม่ใช่แค่สินค้าดี แต่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถ้าทำสิ่งนี้ไม่ได้ความสามารถในการแข่งขันก็จะลดลง มันทำให้คุณค่ากลายเป็นมูลค่า น่าสนใจตรงการเปลี่ยนผ่านจากผู้ผลิตธรรมดามาเป็นผู้ผลิตที่ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดการของมันก็คือ ขั้นแรก เปลี่ยนไฟเป็น SolarPanel หลอดใช้ LED จากเดิมค่าไฟเป็นแสน แต่พอมาใช้ carbon trade มันจะได้คืนมาหมื่นนึง

นอกจากการสร้างคุณค่าด้วยการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม การสร้างแบรนด์ การทำ SME และ StartUp ที่ลงทุนไป ถ้าผู้ประกอบการมีไอเดียที่ดี ผลิตภัณฑ์มันต้องขายได้ในตลาดเฉพาะกิจ ตัวอย่างเช่น การสร้างแบรนด์จึงโฟกัสไปที่ GI ประเทศญี่ปุ่นทำให้สิ่งที่เชื่อว่าทำ 100 ปี และทำแล้วเป็น The best กลุ่มเป้าหมายที่ขายออกไป ก็ต้องโชว์บนฉลากให้เห็นว่าเป็นธรรม Fair Trade สิ่งเหล่านี้มันต้องเริ่มที่ตัวสินค้าก่อนแล้ว ไปที่แบรนด์

อีกกลยุทธสำคัญ คือ การทำให้กระบวนการผลิตนั้นได้ Certified ของการลดการปล่อย CO2 เช่น การเลี้ยงวัว ซึ่งวัวนั้นปล่อยก๊าซมีเทนจำนวมาก ผู้เลี้ยงก็เปลี่ยนอาหารให้มันกินสาหร่ายแดง ซึ่งทำให้ระบบย่อยอาหารของมันปล่อยก๊าซลดลง แล้วผู้ผลิตก็ไปขอ Certified กับหน่วยงานให้ผลิตภัณฑ์ ทุกวันนี้ตลาดคาร์บอนเครดิตอาจจะดูเล็กมูลค่าน้อย แต่ในอนาคตเราต้องปล่อย CO2 ให้เท่ากับศูนย์ภายในปี ค.ศ.2040 ถ้าเราไม่เปลี่ยนอะไรเลยมันจะมีบทลงโทษในอนาคต ปี 2025, 2030 จะมีตัวชี้วัดมากขึ้นๆ ไปสู่บทลงโทษต่อการปล่อยก๊าซในปี 2050

อย่างในวันนี้ผู้เข้าร่วมในห้องเสวนา เรามีผู้ประกอบการรายเล็ก คุณน้องทำบริษัทผลิตอาหารแปรรูปจากเนื้อหมู ด้วยความที่ตัวเองเป็นพยาบาลก็จะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหาร ในสิ่งที่กำลังทำเรื่องสิ่งแวดล้อมก็คือ ZeroWaste ตอนนี้เราพบวิธีใหม่คือ ใช้วิธี BSL (Black solider fly) ในการกำจัดโปรตีนจากเดิมที่ทิ้งในระบบ anaerobic เฉยๆ

อีกรายคือ ทำเครื่องแกง มีคำถามว่าใช้วิธีแพคอย่างไรถึงจะตรงความต้องการของต่างประเทศ อาหารไทยนั้นติด Top 5 ของโลก ตลาดเหมือนจะใหญ่แต่ก็ไม่ใหญ่มาก ฝรั่งชอบในสิ่งที่เอากลับไปบ้านแล้วได้รสชาติเหมือนกับที่มาเที่ยว ถ้าจะเริ่มลองเริ่มจากเครื่องแกงที่นักท่องเที่ยวคุ้นเคย ถัดมาคือทำอินทรีย์ ผู้ประกอบการรายใหญ่ไม่ค่อยมีใครทำผลิตภัณฑ์อินทรีย์ คนทำกลุ่มนี้มันเป็นกลุ่มเล็ก อันที่สามคือ การมี story ของผลิตภัณฑ์เช่น ซื้อไปแล้วเอาไปแกงอะไร ชวนมาเที่ยว สุดท้ายสิ่งสำคัญ คือ ต้องมีตัวแทนจำหน่าย

ด้านการทำงานในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารที่มีลูกค้าอินเตอร์ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาโลกร้อนแบบ Carbon Neutral เราใส่ใจเรื่องต้นทางของการผลิตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำและจะปล่อยคาร์บอนเท่ากับศูนย์ในอนาคต ฉะนั้นการทำธุรกิจกับผู้ที่ใส่ใจเรื่องนี้ เค้าจะย้อนกลับมาดูต้นทาง การทำงานกับต้นน้ำบริษัทเองจึงต้องกลับมาสนับสนุนเกษตรกรให้ลดการปล่อยคาร์บอนด้วย เช่น ถ้าเราจะซื้อตะไคร้เข้าโรงงาน แล้วมีเกษตรกรสองกลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งสามารถวัดได้เรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เราจะสนใจและให้ราคาดีกว่า

ในแง่ของความพยายามลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบสนับสนุนของภาครัฐในปัจจุบันเป็นอย่างไร และมันควรมีอะไรเพิ่มเติมในองคาพยพของภาคธุรกิจ เราพบว่า รัฐมนตรีกระทรวงทรัพย์ฯ ตอนนี้มี passion ในเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่ ส่วนระดับนานาชาติก็มีการให้สัตยาบรรณในการร่วมลดการปล่อยมีเทน แต่ประเทศไทยเราเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่ไม่ลงนาม เพราะการปลูกข้าวของนั้นปล่อยมีเทน 2.5% ของโลก ส่วนการกระตุ้นเศรษฐกิจ incentive ภาครัฐของเราก็ยังไม่ชัดเจน

อาหารที่ผลิตด้วยคาร์บอนต่ำ อย่าง plant based ทุกวันนี้มันไม่ใช่แค่อาหารเจ แบบที่เคยกิน มันจะมี Texture ที่สู้ฟัน มีการเติมไขมันที่ให้สภาพต่างออกไป อันนี้ก็เป็นมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนความนิยมของลูกค้าในตลาด ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่มาจากแมลง เช่น จิ้งหรีด สิ่งที่ตลาดมองก็คือ เอาไปเป็นแหล่งโปรตีนของอาหารสัตว์ก่อน ในอดีตก็ใช้ปลาเป็ดในการทำอาหารสัตว์ โจทย์คือ ทำอย่างไรให้มันมีคุณภาพและราคาไม่เหวี่ยงมาก

ท้ายที่สุดนั้นการปรับเปลี่ยนมันไม่ใช่แค่การทำในเชิงปัจเจก มันต้องทำทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำไปควบคู่กันกับการกักเก็บคาร์บอนผ่านการปลูกต้นไม้ ส่วนผู้บริโภค หากลองคิดถึงการปล่อย 300 ล้านตันต่อปี ต่อจำนวนประชากร ถ้าผู้บริโภคช่วยมันจะลดได้มากกว่าการให้บริษัทเอกชนแบก เช่น ปี 2035 ต้องเลิกขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ขณะเดียวกันผู้บริโภคต้องรับรู้และทำในระดับตนเองตั้งแต่ตอนนี้ โรงเรียนจึงต้องมีส่วนในการทำให้เด็ก นักศึกษา รับรู้และขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านไปในกระบวนการ เพราะเขาเข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้ไม่ยาก ระบบการศึกษาจึงจำเป็นต้องใส่เรื่องนี้เข้าไป

อย่างต้นน้ำที่มี Culture Waste เช่น ซังอ้อย ซังข้าวโพด ช่วงที่มีการเผากันหนักๆ ครึ่งหนึ่งของคนเผารู้ปัญหาแต่ไม่รู้ทางออก อีกครึ่งหนึ่งปลงแล้ว ทางออกคือกระทรวงเกษตรจะต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนว่า ใครเผาตรงไหน เผาอะไร เอาข้อมูลมาทำให้หยุดการเผา ย้อนกลับมาจ้างเกษตร ขายวัตถุตรงนั้น รับไปกำจัดแล้วเอาเงินหมุนกลับมา ส่วนนี้ต้องทำให้ประชาชนเข้าใจระดับและผลกระทบของปัญหา เพื่อทำให้เขายอมรับว่ามันต้องเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อหาทางเลือกในการเปลี่ยนแปลง ถ้าทำได้ในเชิงนโยบายอยากให้ทำแบบออสเตรเลียคือ มี master plan ในการผลิตแบบอินทรีย์ (ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ในออสเตรเลียเป็นอินทรีย์ 50%) ผลผลิตมันควรจะ trace ได้ว่ามาจากไหน ใครเป็นผู้ผลิตนี่คือหนึ่งในกระบวนการสร้างความไว้วางใจและการตรวจสอบการผลิตที่ปลอดภัย

Add Review

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Rating

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ กรุณาศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และกดยอมรับ/allow

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า