Sign In

การฟังและวิเคราะห์เรื่องเล่าที่ซ้อนอยู่เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางสังคม

Hatyai Signature Hotel
  • Event date:
    มิถุนายน 29, 2022 at 1:00 PM
  • Event end:
    มิถุนายน 29, 2022 at 3:00 PM

This post is also available in: English

คำอธิบายบทเรียน:

กระบวนการฟัง

การฟังอย่างมีส่วนร่วมหรือการฟังเชิงลึกเป็นทักษะสำคัญที่นักวิจัยและนักคิดเชิงออกแบบด้านชาติพันธุ์วรรณานำมาใช้เพื่อทำความเข้าใจผู้คน บริบท และผู้คนที่อยู่ในบริบทของพวกเขา กระบวนการนี้เป็นชุดเครื่องมือเชิงคุณภาพที่เมื่อนำมาใช้ร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณจะช่วยให้เราทราบถึงเรื่องเล่าของชุมชน รวมถึงความต้องการเชิงลึก ความท้าทาย และโอกาสที่ซ่อนอยู่

  • เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยทัศนคติที่เปิดกว้าง
  • เป็นกระบวนการที่ทำให้เราเกิดความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับความเป็นจริงของชุมชน
  • เป็นกระบวนการที่เกี่ยวโยงกับกระบวนการร่วมสร้างสรรค์ (co-creation) และการสร้างต้นแบบ (prototyping) – กล่าวคือ เมื่อเราทราบความต้องการและโอกาสของชุมชนแล้ว เราต้องนำข้อค้นพบเหล่านี้มาเชื่อมโยงกับการร่วมสร้างสรรค์และการสร้างต้นแบบ “เป้าหมายของการฟังอย่างมีส่วนร่วมไม่ใช่แค่การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์อะไรบางอย่างเท่านั้น (…) แต่ยังรวมถึงการสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านกระบวนการฟังด้วย” (Jayne Engle, 2018) เพื่อที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เราต้องเข้าใจเรื่องเล่าเพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการออกแบบและการดำเนินแผนการต่าง ๆ การทำความรู้จักเรื่องเล่าและการนำไปประยุกต์ใช้จะช่วยให้เราสร้างเรื่องเล่าที่ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน อันจะนำไปสู่ความร่วมมือ

เรื่องเล่า

  • หมายถึงการรับรู้หรือมุมมองที่ผู้คนและชุมชนมีต่อชีวิตของตนเอง
  • เป็นอัตวิสัย (ความคิดส่วนบุคคล)
  • ไม่จำเป็นต้องถูกต้องตรงกันหรือสอดคล้องกับความเป็นจริง
  • มีอิทธิพลในการกำกับทิศทางของการกระทำที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

เป้าหมายสูงสุดของเราคือการศึกษาเล่าเรื่องที่ซับซ้อนทั้งหมดที่มีอยู่ จัดกลุ่มให้กับรูปแบบความคิดที่เหมือนกันเพื่อให้เห็นภาพของการดำเนินการในระดับต่างๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับความต้องการที่แท้จริงของชุมชน

วิทยากร: Fernanda Barros ศูนย์การศึกษาสังคมและการเมือง (The Agirre Lehendakaria Center)

สรุปสาระสำคัญ

กระบวนการฟังเป็นขั้นแรกของการร่วมสร้างสรรค์ (co-creation) สิ่งที่ควรโฟกัสคือโอกาสและความท้าทายที่ทำทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์จะถูกเอามาวิเคราะห์แล้วอัพเดทข้อมูลจากเรื่องเล่าที่รับมา องค์ประกอบหลักของกระบวนการฟังก็คือ การสนทนาที่เป็นเครื่องมือหลัก ผู้คนที่พูดคุยด้วยต้องมีความหลากหลายในเรื่องของเศรษฐกิจ เพศ อายุ เช่นถ้าพูดถึงชุมชนพื้นเมือง ผู้อพยพ ก็ต้องดูด้วยว่าใครคือผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้อง ทำ Snowball Sampling โดยมีชุดคำถามในการฟังเป็นแนวทางในการสนทนาและปรับภาษากับผู้ฟังที่คุยด้วย ต้องมีการรวมข้อมูลเชิงคุณภาพเข้ากับเชิงปริมาณอย่างสถิติที่มีอยู่ รายงานจากหน่วยงานแต่ละระดับมาประกอบกันในการวิเคราะห์ สุดท้ายสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ กระบวนการทำความเข้าใจกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

ตัวอย่างของช่องทางการฟังที่ใช้กันอยู่ก็มีทั้งในชุมชนและทางดิจิตอลตัวอย่างของที่ปากีสถาน เวลาพูดถึงการฟังจะคำนึงถึงความลึกของสิ่งที่ฟัง การนำข้อมูลเข้าจะไปสู่การออกแบบและทำ Prototype ซึ่งตอนนำไปทดสอบนี่เอง ข้อมูลที่ถูกพูดซ้ำจะถูกพิจารณา ปรับปรุง และวิเคราะห์ impact ของตัวแบบที่ศึกษา

การวิเคราะห์ Digital Narrative เป็นอีกวิธีหนึ่งในการวิเคราะห์ประเด็นที่แตกต่างกัน เราจะดูบริบทที่ซ่อนอยู่ข้างใน โดยมีอีกเครื่องมือคือ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ที่ทีมภาคสนามลงไปสังเกตดูปฏิกิริยาของคนสัมภาษณ์และชุมชน เช่น ไปตลาดตอนเช้าแล้วสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นในตลาดเช้า จัดการข้อมูลที่เห็น แล้วไม่มีใครซื้อปลาสดเลย มีแต่คนซื้อปลาแช่แข็ง เราก็จะไปคุยกับคนขาย คนซื้อว่าสาเหตุคืออะไร เช่น ปลาแช่แข็งราคาถูกกว่า แล้วก็บันทึกข้อมูลนี่เป็นเครื่องมือหนึ่งในการ Guide การสังเกตการณ์ อีกตัวอย่าง เช่นเวลาอยู่ในพื้นที่ประท้วง พื้นที่ขัดแย้ง เราก็สังเกตเมือง สภาพเมือง ป้ายประท้วง สิ่งที่เกิดขึ้นและชุมชนอยากจะสื่อสาร ซึ่งปรากฏสัญลักษณ์ เช่นเดียวกับการใช้แพลตฟอร์มสำหรับแสดงความคิดเห็น

คุณ Hassan Rasheed จากมัลดีฟ ได้ทำงานร่วมกับคุณ Fernanda สิ่งที่ทำคือมีการทำ stakeholder mapping กับประชากรบนเกาะทั้งเกาะเล็กและเกาะขนาดใหญ่ในประเทศ พอเลือกแล้วก็ได้กำหนด Timeline เก็บข้อมูลให้มากที่สุดที่เป็นไปได้ เลือกมายี่สิบเกาะจากสภาพความเป็นอยู่และจำนวนประชากร ความห่างไกล และความเป็นเมือง กิจกรรมสำคัญที่ทำคือ การทดสอบและใช้แบบสอบถาม ทำให้มีการทำงานที่เหมาะสมกับแต่ละเกาะโดยใช้ข้อมูลจากคำถามนี้ ตามด้วยการไปคุยกับบริษัทเอกชน ผู้ประกอบการ คนว่างงาน ผู้ใช้ยาเสพติด แรงงานอพยพ ผู้ชาย ผู้หญิง อาชีพต่างๆ การทำประมง การทำเกษตร การท่องเที่ยว การบริการ และคนรุ่นใหม่ แม้ว่าจะพบกับอุปสรรคในการเข้าพบปะผู้คนระหว่างที่มีการะบาดของโอไมครอน

คุณ Fathimah Lafah ผู้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ ให้ข้อมูลว่านอกจากคำพูดจากการสัมภาษณ์แล้วเรายังต้องสังเกตเหตุการณ์ (event) งานเฉลิมฉลอง ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต การใช้เครื่องมือนี้ต้องกลับมา Debrief แล้วกลับมากรองข้อมูล ลิสต์คำถามใหม่จากสิ่งที่สังเกตเพื่อที่จะได้ข้อมูลมากขึ้น เห็นหลายมิติที่ครอบคลุมมากขึ้นในการเข้าใจสถานการณ์ปัญหา

ผู้เข้าร่วมสะท้อนว่า ในกรณีพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ การฟังจากชุมชนในพื้นที่ยังเป็นแบบฉาบฉวยและรวดเร็ว เครื่องมือแบบนี้ยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ สังเกตว่า เวลาน้องไปคุยก็คุยแต่ตามจำนวนคำถามที่ให้ไป ไม่ได้มีการทำความเข้าใจในบริบทชุมชน แม้จะเจอคนในพื้นที่ก็ยังเก็บข้อมูลให้เต็มศักยภาพไม่ได้ อีกส่วนที่ตกหล่นหายไปคือ น้องไม่ได้จับความรู้สึกในชุมชนว่ารู้สึกอย่างไรที่มีต่อการจัดการในเรื่องนั้น คนที่ทำกิจกรรมเป็นตัวหลักต้องรู้จักใช้เครื่องมือในการฟัง เพื่อพัฒนาศักยภาพสกัดความรู้สึกในบริบทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่เป็นตัวแปรต่างๆ ที่จะทำให้เห็นแนวโน้มของสถานการณ์ ไม่สร้างสิ่งที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่

คุณ Fernanda ได้เล่าต่อถึงกระบวนการถัดมาหลังจากกระบวนการรับฟังใน Co-Creation ซึ่งก็คือ การหา Pattern จากข้อมูลที่ได้สัมภาษณ์มา มีการจัดหมวดหมู่ข้อมูลให้เห็นหมวดหมู่ ความถี่ หารากเหง้าของปัญหาด้วยโมเดลของภูเขาน้ำแข็ง ค้นหาสิ่งที่ต้องแก้ถึงระดับ Mindset เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลและหาความสมเหตุสมผลแล้วก็จะมีการทำ meta-narrative จะมีการเทียบสิ่งที่ได้ กับสิ่งที่พบ ว่าเกี่ยวข้องกันหรือไม่อย่างไรด้วย contrast พิจารณาว่า material ที่ใช้นั้นจะเหมาะสมหรือไม่ ตามด้วยการใช้ personas ตัวตนสมมุติ เป็นตัวแทนของมุมมองที่เป็นส่วนหนึ่งในการหาความท้าทายร่วมที่ให้ผู้ฟังให้ความคิดเห็นว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง สิ่งเหล่านี้จะทำให้เห็นว่าจะทำอย่างไรถึงจะเกิดการเปลี่ยนผ่านได้บ้าง เมื่อได้ข้อมูลนี้แล้วก็จะไปสู่กระบวนการทำความเข้าใจ อาจเป็นไปทำในพื้นที่ โทรคุย Hybrid หรือ ออนไลน์ การ contrast ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ Sense making ให้เห็นก้าวต่อไปว่า Gap คืออะไรและต้องก้าวต่อไปอย่างไร อะไรที่ต้องหลีกเลี่ยงเชิงวัฒนธรรมจะเห็นได้จากตัวตนสมมติ

เอกสารประกอบการอบรม “การฟังและวิเคราะห์เรื่องเล่าที่ซ้อนอยู่เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางสังคม”

Location

Add Review

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Rating

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ กรุณาศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และกดยอมรับ/allow

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า