Sign In

Show Map

This post is also available in: English

ไม่มีโครงการใดโครงการเดียวที่สามารถตอบโจทย์เความท้าทายในการพัฒนาสังคมที่ซับซ้อน เนื่องจากผู้คนกลุ่มและชุมชนต่างได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน ดังนั้น ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับพลวัตทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่มองเห็นความท้าทายหลากหลายในแบบเรียลไทม์จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการร่วมสร้างแนวทางแก้ไขปัญหาที่ใหม่และดีกว่า

ด้วยความพยายามเปลี่ยนผ่านจากการทำโครงการเชิงเดี่ยวไปสู่การขับเคลื่อนด้วยแพลตฟอร์มนวัตกรรมแบบเปิด (รวมองค์กร วิธีการ และกิจกรรมที่เชื่อมต่อกันและหลากหลาย) ซึ่งเป็นไปตามหลักการบูรณาการเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ร่วมกับศูนย์การศึกษาสังคมและการเมือง (The Agirre Lehendakaria Center) กำลังส่งเสริมกระบวนการแพลตฟอร์มที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารในท้องถิ่นผ่านพอร์ตโฟลิโอ โดยความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบอาหารท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น กลุ่มนักกิจกรรมสร้างสรรค์ เยาวชน ศูนย์บ่มเพาะในท้องถิ่น โรงเรียน เกษตรกร ผู้ประกอบการอาหาร ผู้บริโภค สมาคมธุรกิจท้องถิ่น และผู้จัดการตลาด เป็นต้น กลุ่มกิจกรรมนี้ได้รับการพัฒนาภายใต้กระบวนการที่เรียกว่า “Social Innovation Platform (SIP)”

นอกเหนือจากการมีส่วนร่วมของชุมชนและกลไกการปรึกษาหารือแบบเดิม ซึ่งส่วนใหญ่นำไปสู่การจัดการความท้าทายของท้องถิ่นโดยแนวทางแก้ไขปัญหาแบบเดิมหรือโดยโครงการเฉพาะและเชิงเดี่ยวที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ภายในแนวทาง SIP ความท้าทายที่พบจากกระบวนการฟังและร่วมสร้างสรรค์จะถูกจัดการโดยผู้ปฏิบัติการและวิธีการต่างๆ ที่หลากหลายและเชื่อมโยงถึงกัน กระบวนการลักษณะนี้ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างระบบตอบสนองความต้องการของประชาชนที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบมากกว่าโครงการเชิงเส้นตรงแบบเดิม โดยมีพื้นที่การฟังและสร้างสรรค์ร่วมทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับการสร้างความร่วมมือและความเข้าใจในสังคมและชุมชน เชื่อมช่องว่างระหว่างรัฐผู้ปฏิบัติหน้าที่ (Duty Bearers) และประชาชนผู้ถือสิทธิ์ (Right Holders)

🌿 เส้นทางสู่การนำร่องเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มนวัตกรรมทางสังคม 🌿

ภายใต้แพลตฟอร์มนวัตกรรมทางสังคมระดับท้องถิ่นนี้ การร่วมสร้างสรรค์และการเชื่อมโยงระหว่างกันเป็นกระบวนการสำคัญในทลายกำแพงที่ทำให้เราแยกกันทำงาน เรียนรู้ในการสร้างพันธมิตร และทำอย่างไรให้เราได้รับประโยชน์จากผลลัพธ์ร่วมกัน ทั้งนี้ คุณลักษณะที่เชื่อมโยงกันโดยธรรมชาติของระบบอาหาร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เป็นโอกาสสำคัญในการบูรณาการเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบและนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับท้องถิ่น

กระบวนการนวัตกรรมทางสังคม

🌿 ริเริ่ม 🌿

การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งแรกจัดขึ้นในเดือนกันยายน 2019 โดยมีการแนะนำกระบวนการแพลตฟอร์มนวัตกรรมทางสังคมเพื่อพลิกโฉมระบบเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น มีการกล่าวถึงปัญหาสามประการอย่างชัดเจน ได้แก่ ระบบอาหาร การท่องเที่ยว และธุรกิจ

🌿 กระบวนการพัฒนาพอร์ตฟอลิโอและแพลตฟอร์ม 🌿

หลังจากการลงพื้นที่ครั้งแรกและสัมภาษณ์ผู้คน 50 คนเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสของพวกเขาภายใต้ประเด็นเหล่านั้น มีเครื่องมือมากมายในการนำเสนอสิ่งที่ค้นพบจากกระบวนการรับฟัง ใน SIP นี้เราใช้ “บุคคลสมมติ” (โปรไฟล์) ซึ่งเป็นตัวแทนอย่างง่ายของผู้คนและปัญหาหลักและความต้องการที่มีการพูดถึงซ้ำๆ ในหมู่ผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ บุคคล/โปรไฟล์จะถูกสร้างขึ้นโดยการวิเคราะห์เรื่องเล่าที่ได้รับฟังจากคนหลากหลายซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนั้นๆ โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อมูลทางประชากรศาสตร์หรือการวิเคราะห์เชิงปริมาณเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงรูปแบบการรับรู้ พฤติกรรม และการคิด โปรไฟล์ยังพยายามสื่อถึงความหลากหลายของอายุ ภูมิหลังทางสังคม และอาชีพ

จากกระบวนการฟังรอบแรก ALC ได้วิเคราะห์ข้อมูลและสร้างบุคคลสมมติ 9 ตัวขึ้น ซึ่งถูกนำเสนอผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เรียกว่า SenseMaker ให้ผู้คนประมาณ 70 คน ตอบคำถามและทบทวนว่า พวกเขารู้สึกว่าตัวตนที่เป็นตัวแทนหรือสะท้อนเรื่องราวของพวกเขาเองหรือไม่ ซึ่งถ้าใช่ แล้วอย่างไร หลังจากนั้น ข้อคิดและความเห็นดังกล่าวนำไปสู่การพัฒนาต้นแบบ 30 รายการที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ด้านการพัฒนา เพื่อในการจัดสรรงบประมาณ เป็นแนวทางในการตัดสินใจด้านนโยบาย และดึงดูดแหล่งการลงทุนต่างๆ (ภาครัฐ เอกชน การกุศล) โดยต้นแบบเหล่านี้จะ:

1. มุ่งตอบสนองความต้องการและโอกาสที่ชุมชนระบุ นี่เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากพวกเขากำลังตอบสนองโดยตรงต่อรูปแบบการเล่าเรื่องที่ทำงานในพื้นที่และปรับความสำเร็จของการริเริ่มใดๆ ที่ดำเนินการในภูมิภาค

2. ทำหลายระดับ: เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบอย่างแท้จริง ต้นแบบต้องประกอบไปด้วยงานอย่างน้อยห้าระดับที่แตกต่างกัน: การดำเนินการระดับชุมชน การดำเนินการขนาดเล็กและขนาดกลางด้วยโมเดลธุรกิจ (เช่น สตาร์ทอัพ) การดำเนินการขนาดใหญ่ (เช่น ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน) การออกแบบบริการสาธารณะใหม่ และการกำกับดูแล/นโยบายใหม่

3. เชื่อมโยงทั้งทางความคิด (ซึ่งกันและกันด้วยตรรกะเดียวกัน และในขณะเดียวกันกับระบบนิเวศที่มีอยู่ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ บริการ และการดำเนินการใหม่ ๆ จากที่มีอยู่) และทางกายภาพ (จากแนวคิดของตลาดเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับชุมชนศาสนาต่างๆ ระบุระหว่างกระบวนการฟัง และสิ่งจำเป็นที่ระบุในระหว่างกระบวนการฟังดิจิทัลด้วย ข้อเสนอนี้แนะนำให้นำตลาดอาหารเป็นพื้นที่ทดลองสำหรับสถานการณ์หลังโควิด-19)

🌿 บทสนทนาและแพลตฟอร์ม 🌿

PLATFORM – Spaces for Collective Interpretation

ดังแนวคิดของ Margaret Wheatley และ Deborah Frieze ในบทความ Using Emergence to Take Social Innovation to Scale ที่ให้ชี้ให้เห็นความจำเป็นของการสร้างชุมชนแห่งความสนใจร่วมและการร่วมมือ เพื่อผลักดันให้นวัตกรรมทางสังคมสามารถขยายผลต่อยอดได้ อันได้แก่

1. ชุมชนที่มีความสนใจร่วม – ค้นพบความหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน
2. ชุมชนแห่งการร่วมลงมือปฏิบัติ – พัฒนาแนวทางปฏิบัติใหม่ร่วมกัน
3. ชุมชนแห่งการขับเคลื่อนแนวคิดใหม่ – ขยายแนวปฏิบัติใหม่จนกลายเป็นบรรทัดฐาน

นอกจากการขับเคลื่อนเชิงระบบแล้ว พื้นที่สำหรับการสนทนาและทบทวนเกี่ยวกับงานต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญในการเร่งการเรียนรู้และการเชื่อมโยงกันของการขับเคลื่อน

ติดตามการเดินทางในหน้า UNDP SDG Integration ที่นี่ https://sdgintegration.undp.org/countries/thailand

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ กรุณาศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และกดยอมรับ/allow

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า